ลดภาพสั่นไหวในวิดีโอได้ไม่กี่นาทีด้วย Adobe Premiere Pro

ดูวิธีที่คุณสามารถใช้โปรแกรมแก้ไขวิดีโอเพื่อปรับฟุตเทจที่สั่นไหวให้ดูลื่นไหลและสบายตาขึ้นในไม่กี่ขั้นตอนง่ายๆ

คนคนหนึ่งกำลังยืนอยู่บนยอดภูเขาหิมะพร้อมสวมหมวกกันน๊อกติดกล้อง

เพิ่มความเป็นมืออาชีพให้กับคลิปด้วยเทคโนโลยีกันสั่นในวิดีโอ

เมื่อคุณกำลังถ่ายทำวิดีโอ การสั่นของกล้องเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากถ่ายด้วยการซูมเข้า แม้ว่าจะใช้ Steadicam การพยายามให้ได้ภาพที่นิ่งไม่สั่นไหวในกล้องก็ยังจะต้องอาศัยงานในขั้นตอนหลังการถ่ายภาพด้วย หากพูดถึงซอฟต์แวร์ลดภาพสั่นไหวในวิดีโอ Adobe Premiere Pro ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมืออันทรงพลัง โดยมีเอฟเฟกต์ Warp Stabilizer ที่ช่วยแก้อาการกล้องสั่นที่ไม่พึงประสงค์ได้ด้วยการคลิกเพียงไม่กี่ครั้ง พร้อมการปรับแต่งอย่างละเอียด เพื่อที่คุณจะได้ภาพและอารมณ์ตามต้องการ ซึ่งต่อไปนี้เป็นวิธีที่คุณสามารถใช้เอฟเฟกต์นี้เพื่อลดความสั่นไหวในวิดีโอที่ถ่ายด้วย GoPro, Smartphone, Drone หรือกล้องถ่ายวิดีโอที่ใช้คนถือได้

คำแนะนำทีละขั้นตอนสำหรับการลดความสั่นไหวในไฟล์วิดีโอใน Premiere Pro

ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1: นำเข้าสื่อของคุณ

นำคลิปวิดีโอที่คุณต้องการลดความสั่นไหวเข้ามาใน Premiere Pro โดยใช้วิธีใดวิธีหนึ่งจากสามวิธีดังนี้

 

  • เลือก File › Import จาก Media Browser
  • คลิกขวาที่ไฟล์ใน Media Browser แล้วเลือก Import
  • ลากไฟล์จาก Media Browser ไปที่แผง Project หรือลากไฟล์จาก Media Browser ไปไว้ในไทม์ไลน์

 

หากคุณมีลำดับอยู่แล้ว ลากคลิปที่คุณต้องการลดความสั่นไหวลงใน Timeline หากยังไม่มี คลิกขวาแล้วเลือก New Sequence From Clip

ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 2: แยกคลิปของคุณออกเป็นส่วนพื้นที่การทำงานที่เล็กที่สุด เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Warp Stabilizer ทำงานโดยใช้หน่วยความจำมากและใช้เวลานาน ระหว่างการประมวลผลนี้ คุณยังคงทำงานใน Premiere Pro ต่อไปได้ แต่จะช้าลงเล็กน้อย เมื่อ Warp Stabilizer เสร็จสิ้นขั้นตอนการลดความสั่นไหวแล้ว Premiere Pro จะกลับมาทำงานเป็นปกติ วิธีหนึ่งที่ช่วยในเรื่องนี้ได้คือค้นหาส่วนของฟุตเทจที่สั่นไหว แล้วตัดคลิปเพื่อแยกส่วนที่สั่นไหวนั้นออกมา จากนั้นจึงเรียกใช้งาน Warp Stabilizer เฉพาะกับส่วนที่ตัดให้สั้นแล้วเท่านั้น

 

หากต้องการแยกคลิป เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งไปยังจุดต่างๆ ในแทร็กในตำแหน่งที่ต้องการแยก โดยอย่าลืมไฮไลต์ Channel ที่จะแยกเอาไว้ และหากต้องการแยกเสียงไปกับวิดีโอ อย่าลืมไฮไลต์แทร็กเสียงด้วยเช่นกัน เพราะการแยกและการย้ายวิดีโอโดยไม่นำเสียงไปด้วยอาจทำให้เสียงของคุณไม่ซิงค์กันในจุดอื่นๆ ของคลิป

 

หากคุณต้องการแยกคลิปที่มีคลิปหรือแทร็กสองรายการขึ้นไปทับซ้อนกันอยู่ในไทม์ไลน์ คุณจะต้องเปลี่ยนไปใช้ Expert View Timeline โดยลาก Marquee เพื่อเลือกคลิปบนแทร็กต่างๆ ที่ทับซ้อนกัน ณ เวลาหนึ่งๆ จากนั้นลากตัวชี้ตำแหน่งไปยังเฟรมที่คุณต้องการแยก

 

ใช้แป้นพิมพ์ลัด Command/Control + K (สำหรับ Mac หรือ PC ตามลำดับ) หรือเลือก Timeline › Split Clip แล้วคุณจะได้คลิปสองคลิปจากไฟล์เดียวกันที่สามารถตัดต่อแยกกันได้

อินเทอร์เฟสเมนูเอฟเฟกต์ Warp Stabilizer ของ Adobe Premiere Pro
ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 3: นำ Warp Stabilizer มาใช้กับคลิปที่สั่นไหว

ก่อนอื่น ให้เลือกคลิปที่คุณต้องการลดความสั่นไหว จากนั้นในแผง Effects ให้เลือก Distort › Warp Stabilizer ถัดไป นำเอฟเฟกต์มาใช้โดยดับเบิลคลิก หรือลากเอฟเฟกต์ไปที่คลิปใน Timeline หรือแผง Effect Controls

 

หลังจากเพิ่มเอฟเฟกต์แล้ว ระบบเบื้องหลังโปรแกรมจะเริ่มวิเคราะห์คลิปทันที โปรดจำไว้ว่าการดำเนินการนี้อาจใช้เวลาสักครู่หนึ่งโดยขึ้นอยู่กับขนาดของคลิป ซึ่งคุณสามารถดูความคืบหน้าของ Stabilizer ได้ในแผง Project เมื่อการวิเคราะห์เริ่มขึ้น แบนเนอร์แรกจากทั้งหมดสองแบนเนอร์จะระบุว่ากำลังดำเนินการวิเคราะห์ และเมื่อการวิเคราะห์เสร็จสิ้น แบนเนอร์ที่สองจะเลื่อนไปเพื่อแสดงให้เห็นว่าระบบกำลังลดความสั่นไหวอยู่ โดยคุณสามารถแก้ไขฟุตเทจหรือส่วนอื่นๆ ในโปรเจกต์ได้ขณะกำลังดำเนินการขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้

ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 4: ปรับการลดความสั่นไหวเพื่อให้ได้ภาพที่ต้องการ

เมื่อ Stabilizer ทำงานเสร็จแล้ว คุณสามารถตรวจสอบผลงานและปรับเปลี่ยนเพื่อให้วิดีโอแสดงทุกสิ่งต่างๆ ตามที่ต้องการในช็อต

 

ถึงแม้ว่า Warp Stabilizer จะเป็นเครื่องมือที่ชาญฉลาดและทรงพลัง แต่คุณอาจสังเกตเห็นว่าวิดีโอที่ลดความสั่นไหวแล้วจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยในด้านต่างๆ หากลดความสั่นไหวในคลิปของคุณเสร็จแล้ว แต่บางส่วนของคลิปโคลงเคลงไปมา แสดงว่าคลิปนั้นลื่นไหลเกินไป ซึ่งคุณสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อแก้ไขปัญหานี้ได้ นอกจากนี้ หากการลดความสั่นไหวตัดภาพที่ขอบซึ่งคุณต้องการออกไป คุณยังสามารถปรับเฟรมเพื่อนำกลับคืนมาได้

 

Warp Stabilizer ทำงานโดยติดตามตำแหน่งจุดต่างๆ ในเฟรมและขยับฟุตเทจเพื่อชดเชยด้วยวิธีที่ซับซ้อน ซึ่งหมายความว่าเฟรมของคุณอาจหมุน ยกตัวขึ้น เลื่อนขึ้นหรือลงก็ได้ หรือ Warp Stabilizer อาจซูมเข้าเพื่อรักษาขอบของคลิปให้จรดกันทั้งๆ ที่มีการปรับเปลี่ยนเหล่านั้น หากผลลัพธ์ออกมาดี แสดงว่าคุณทำการลดความสั่นไหวเรียบร้อยแล้ว แต่หากคุณเห็นอะไรที่ยังไม่ค่อยเหมาะสมนัก ให้ดำเนินการดังนี้

 

  • ตรวจดูการจัดเฟรม
    ตรวจสอบการทำงานของ Stabilizer โดยเปลี่ยนการตั้งค่าเป็น Stabilize Only ในเมนู Framing ซึ่งจะแสดงทั้งเฟรม รวมถึงขอบที่เคลื่อนไหว โดย Stabilize Only จะแสดงให้เห็นว่าฟีเจอร์ปรับแต่งภาพไปมากน้อยเพียงใดเพื่อลดความสั่นไหว และการใช้ Stabilize Only จะช่วยให้คุณครอบตัดฟุตเทจโดยใช้วิธีการอื่นๆ ได้ (หมายเหตุ: เมื่อเลือกใช้ ส่วน Auto-scale section และคุณสมบัติ Crop Less Smooth More จะถูกปิดใช้งาน)

 

  • ปรับแต่งการลดความสั่นไหวและการครอบตัด
    ในส่วน Advanced Settings ลดฟังก์ชัน Smoothness หรือ Crop Less Smooth More ซึ่ง Crop Less Smooth More จะเห็นผลเร็วกว่ามาก เนื่องจากไม่จำเป็นต้องเข้าสู่ขั้นตอนลดความสั่นไหวอีกครั้ง

 

หากทั้งสองวิธีนี้ยังไม่เพียงพอ คุณอาจต้องปรับเปลี่ยนอย่างละเอียดยิ่งขึ้น

คนกำลังเล่นกระดานโต้คลื่นในทะเล

การปรับการลดความสั่นไหวอย่างละเอียด

ควบคุมผลการลดความสั่นไหวที่ต้องการได้มากขึ้นเมื่อคุณตัดต่อวิดีโอ โดยการปรับการตั้งค่า Stabilization

 

เริ่มต้นด้วยการใช้แถบเลื่อนเพื่อปรับระดับการลดความสั่นไหวและการครอบตัด คุณจะเห็นการชดเชยกันระหว่างการครอบตัดกับการปรับให้ลื่นไหล โดยค่าการปรับให้ลื่นไหลที่ต่ำกว่าจะใกล้เคียงกับการเคลื่อนไหวเดิมของกล้องมากกว่า ส่วนเมื่อค่าสูงขึ้น ภาพจะลื่นขึ้น ค่าที่สูงกว่า 100 จำเป็นต้องมีการครอบตัดรูปภาพเพิ่มเติม ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดฟุตเทจสองประเภท ได้แก่

 

  • Smooth Motion (ค่าเริ่มต้น): คงการเคลื่อนกล้องแบบเดิมเอาไว้ แต่ลื่นไหลยิ่งขึ้น เมื่อเลือก คุณจะสามารถเปลี่ยนค่า Smoothness เพื่อควบคุมการปรับความลื่นไหลในการเคลื่อนกล้อง

 

  • No Motion: ฟุตเทจนี้จะพยายามกำจัดการเคลื่อนกล้องทั้งหมดออกจากช็อต เมื่อเลือก ฟังก์ชัน Crop Less Smooth More ถูกปิดใช้งานในส่วน Advanced การตั้งค่านี้จะเลียนแบบภาพที่ได้จากการวางกล้องบนขาตั้งกล้อง ซึ่งจะก่อให้เกิดสิ่งแปลกปลอม (เอฟเฟกต์แปลกๆ ที่ไม่ต้องการ) หากกล้องของคุณมีการเคลื่อนไหวจริงๆ อย่างการถ่ายทำจากรถยนต์ และการตั้งค่านี้จะปิดใช้งาน Smoothing

 

นอกจากนี้ คุณยังสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวชดเชยของ Warp Stabilizer บนเฟรมได้โดยปรับ Method ซึ่งใช้การติดตามแบบต่างๆ เพื่อลดความสั่นไหวในระดับความซับซ้อนที่แตกต่างกัน ในทุกๆครั้งที่มีการปรับเปลี่ยน ฟังก์ชัน Stabilization จะเริ่มทำงานใหม่ ยกเว้นขั้นตอนการวิเคราะห์ โดยวิธีที่ Warp Stabilizer ใช้ลดความสั่นไหวให้กับฟุตเทจมีดังต่อไปนี้

 

  • Position: การลดความสั่นไหวอ้างอิงจากข้อมูลตำแหน่งเท่านั้น เป็นวิธีที่เป็นพื้นฐานที่สุดในการลดความสั่นไหวของฟุตเทจ

 

  • Position, scale, and rotation: การลดความสั่นไหวอ้างอิงจากข้อมูลตำแหน่ง ขนาด และการหมุน โดย Warp Stabilizer จะเลือกตำแหน่งหากมีพื้นที่ไม่เพียงพอให้ติดตาม

 

  • Perspective: วิธีนี้ใช้การลดความสั่นไหวประเภทหนึ่งที่จะตรึงมุมของทั้งเฟรมไว้อย่างมีประสิทธิภาพ และหากมีพื้นที่ไม่เพียงพอให้ติดตาม Warp Stabilizer จะเลือกประเภทก่อนหน้านี้ (Position, scale, and rotation)

 

  • Subspace Warp (ค่าเริ่มต้น): วิธีนี้จะบิดหลายๆ ส่วนของเฟรมเพื่อลดความสั่นไหวของภาพทั้งเฟรม และหากมีพื้นที่ไม่เพียงพอให้ติดตาม Warp Stabilizer จะเลือกประเภทก่อนหน้านี้ (Perspective)

 

วิธีการที่นำมาใช้กับเฟรมใดๆ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดของคลิปขึ้นอยู่กับความแม่นยำในการติดตาม และตัดต่อนี้อาจต้องใช้เวลา

 

สุดท้ายนี้ คุณสามารถควบคุมได้ว่าขอบของผลลัพธ์ที่ลดความสั่นไหวจะปรากฏในเฟรมอย่างไร แต่จะมีอิสระน้อยกว่าการควบคุมอื่นๆ โดยขึ้นอยู่กับคลิปนั้นๆ หากคุณเลือกการลดความสั่นไหวที่พยายามแก้ไขขอบแต่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนกล้องในส่วนที่เหลือ คุณจะเห็นสิ่งแปลกปลอมสีดำปรากฏอยู่ในคลิป โดยการตั้งค่าเริ่มต้นในที่นี้จะเป็น Stabilize, Crop, Auto-scale ซึ่งจะครอบตัดขอบที่เคลื่อนไหวและขยายขนาดรูปภาพเพื่อเติมเต็มเฟรม เราควบคุมการปรับขนาดอัตโนมัติได้ด้วยคุณสมบัติต่างๆ ในส่วน Auto-scale

 

เมื่อคลิปของคุณพร้อม คุณสามารถไปยังขั้นตอนถัดไป หรือจะจบโปรเจกต์และส่งออกคลิปก็ได้ Warp Stabilizer ช่วยให้คุณแก้ไขปัญหาฟุตเทจวิดีโอที่สั่นไหวได้อย่างรวดเร็วด้วยวิธีสองสามวิธี โดยยังคงรักษาการเคลื่อนกล้องที่ตั้งใจไว้เพื่อให้ภาพดูเป็นธรรมชาติ ทำให้ Adobe Premiere Pro เป็นซอฟต์แวร์ลดภาพสั่นไหวชั้นดีสำหรับวิดีโอ ไม่ว่าคุณจะถ่ายทำอย่างไร คุณก็สามารถทำได้ แล้วจึงค่อยลองใช้การตั้งค่าและแถบเลื่อนต่างๆ ในขั้นตอนหลังการถ่ายทำจนได้ภาพและอารมณ์ตามต้องการแบบขอบจรดขอบ

ทำสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้นด้วย Adobe Premiere Pro

สร้างวิดีโอที่น่าทึ่งสำหรับภาพยนตร์ โทรทัศน์ และเว็บไซต์ได้เกือบทุกที่

และคุณอาจสนใจ...

ภาพถ่ายระดับน้ำทะเลของชายฝั่งโดยใช้ Dynamic Range ที่เป็นเอกลักษณ์

Dynamic Range คืออะไร

เรียนรู้เกี่ยวกับ Dynamic Range ของกล้องและวิธีควบคุมเพื่อสร้างสรรค์ภาพที่ต้องการ

เอฟเฟกต์วิดีโอดิจิทัลสีสันสดใส

ทดลองใช้เอฟเฟกต์วิดีโอ

เจาะลึกเอฟเฟกต์ยอดนิยมในขั้นตอนหลังการถ่ายทำ พร้อมสำรวจอารมณ์และสไตล์ที่ได้จากเอฟเฟกต์เหล่านั้น

ฉากถ่ายทำที่มีกรีนสกรีนและอุปกรณ์จัดไฟ

วิธีใช้กรีนสกรีน

เรียนรู้การจัดแสงและถ่ายฟุตเทจกรีนสกรีน รวมถึงใช้โครมาคีย์เพื่อเพิ่มพื้นหลังใหม่

เครื่องวัดสีที่ใช้เพื่อปรับเทียบจอภาพ

ทำความเข้าใจวิธีปรับเทียบจอภาพของคุณ


เรียนรู้วิธีจัดการการตั้งค่าสีจอภาพให้แสดงวิดีโอสมจริงเหมือนที่ตาเห็น