#1E1E1E

วิดีโอ

สคริปต์การถ่ายทำ: วางแผนการสร้างภาพยนตร์ของคุณ

สคริปต์การถ่ายทำมีความสำคัญในการสร้างภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นสำหรับภาพยนตร์ Hollywood หรือกับแค่วิดีโอสั้นๆ ก็ตาม เรียนรู้วิธีใช้สคริปต์การถ่ายทำเพื่อให้แน่ใจในคุณภาพของผลงาน

เริ่มทดลองใช้ฟรี สำรวจ Premiere Pro

ทีมงานฝ่ายวิดีโอกำลังเตรียมกองถ่ายวิดีโอระดับมืออาชีพเพื่อถ่ายทำตามสคริปต์

วัตถุประสงค์ของสคริปต์การถ่ายทำ

สคริปต์การถ่ายทำคือกุญแจสำคัญในการผลิตวิดีโอของภาพยนตร์ โดยเป็นเวอร์ชันของบทภาพยนตร์ที่มีคำแนะนำในการถ่ายภาพยนตร์อย่างละเอียดตามลำดับที่จำเป็น เช่น ช็อตจากกล้องในบางช็อต อุปกรณ์ประกอบฉาก และสถานที่ สคริปต์การถ่ายทำคือการผสานรวมกันของบทภาพยนตร์และรายการสิ่งที่ต้องถ่ายทำ

การมีเรื่องราวที่น่าทึ่งในภาพยนตร์ของคุณก็ถือเป็นเรื่องหนึ่ง แต่ชุดข้อมูลอื่นๆ โดยรวมเองถือเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ทีมฝ่ายการถ่ายทำสามารถทำงานร่วมกันเพื่อทำให้วิสัยทัศน์นั้นเป็นจริงได้ “ทีมจะต้องประสานงานกัน” นักเขียนและผู้กำกับ Sam Roden กล่าว “ผมคิดว่านี่เป็นเหตุผลหลักในการมีสคริปต์การถ่ายทำเลยล่ะ”

“สคริปต์จะกำหนดวิธีที่คุณจะได้รับองค์ประกอบที่คุณต้องการเพื่อนำมาเล่าเรื่อง” ช่างภาพวิดีโอ David Albright กล่าว “คุณกำลังมองหาประเภทเฉพาะของช็อตสำหรับมุมที่คุณต้องการ”

เส้นทางในการสร้างภาพยนตร์ตั้งแต่สคริปต์แบบเขียนขึ้นเองสู่บทภาพยนตร์

นักเขียนบทอาจเขียนสิ่งที่เรียกว่าสคริปต์แบบเขียนขึ้นเอง โดยเป็นสคริปต์ที่ไม่ได้มีการว่าจ้างให้เขียนขึ้นมา ซึ่งก็เพื่อสำรวจเรื่องราวใหม่ที่พวกเขาต้องการเล่า ไม่ว่าจะสำหรับรายการที่มีอยู่แล้วหรือไอเดียภาพยนตร์ใหม่ๆ ก็ตาม หากโปรเจกต์ได้รับการอนุมัติหรือมีคนซื้อไป สคริปต์แบบเขียนขึ้นเองจะเข้าสู่ขั้นตอนการเขียนบทถัดไป ซึ่งในขั้นตอนนี้เรื่องราวจะได้รับการแก้ไขจนกลายเป็นบทภาพยนตร์ในท้ายที่สุด

และจากบทภาพยนตร์สู่สคริปต์การถ่ายทำ

ในขณะที่สคริปต์หรือบทภาพยนตร์ทั่วไปจะเป็นการเล่าเรื่องราวของภาพยนตร์ สคริปต์การถ่ายทำจะเป็นเอกสารใหม่ทั้งหมดซึ่งมีการปรับแต่งให้เหมาะสมกับความต้องการของทีมฝ่ายการถ่ายทำตลอดช่วงการเดินกล้องถ่ายทำจริง สคริปต์การถ่ายทำจะจัดระเบียบไว้เพื่อให้สอดคล้องกับตารางการถ่ายทำมากกว่าตามลำดับเวลาของเรื่องราว เนื่องจากเหตุผลด้านลอจิสติกส์และงบประมาณ คุณอาจต้องถ่ายทำฉากบางฉากร่วมกัน แม้ว่าฉากเหล่านั้นจะไม่ซิงค์กับลำดับของการเล่าเรื่องราวก็ตาม และสคริปต์การถ่ายทำจะเป็นสิ่งที่บอกแผนการที่ชัดเจนว่าจะต้องถ่ายสิ่งใดในเวลาไหน

หากคุณมีเรื่องราวที่เกิดขึ้นในบ้าน จากนั้นที่สวนสาธารณะ จากนั้นที่โรงเรียน แล้วกลับไปที่สวนสาธารณะอีกครั้ง และสุดท้ายกลับมาที่บ้าน คุณจะต้องถ่ายฉากทั้งหมดที่เกิดขึ้นในบ้านต่อกัน วิธีนี้จะทำให้ไม่ต้องนำฉากและการจัดแสงออกแล้วจัดใหม่ซ้ำแล้วซ้ำอีก

“โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณต้องรับมือกับการถ่ายทำนอกสถานที่และแสงธรรมชาติที่ไม่สามารถควบคุมได้ คุณจะต้องจัดตารางการถ่ายทำให้สอดคล้องกับเวลาที่คุณต้องอยู่ในสถานที่ต่างๆ” ผู้ผลิตด้านดิจิทัล Matt Monnin อธิบาย “ดังนั้นการวางแผนจึงต้องใช้ความคิดอย่างมาก และในการถ่ายทำขนาดใหญ่ขึ้น คุณจะใช้ทีมงานกับนักแสดงจากสหภาพแรงงาน คุณจ่ายเงินให้ผู้คนมายังสถานที่ถ่ายทำ และคุณก็ต้องการใช้พวกเขาอย่างมีประสิทธิภาพ”

ผู้กำกับกำลังตรวจสอบบันทึกและหน้าจอตัวอย่างในกองถ่าย
#F5F5F5

วิธีสร้างสคริปต์การถ่ายทำ

เมื่อสร้างสคริปต์การถ่ายทำ ควรพิจารณาถึงสไตล์การเขียนของบทภาพยนตร์ดังกล่าวด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น คุณจะไม่เขียนสคริปต์การถ่ายทำของภาพยนตร์เต็มเรื่องหรือภาพยนตร์สั้นในลักษณะเดียวกับภาพยนตร์เพื่อการโฆษณา

“การสร้างโปรเจต์ตั้งแต่บทภาพยนตร์ไปสู่สคริปต์การถ่ายทำคือการทำงานสร้างสรรค์ต่อไปเรื่อยๆ” Roden กล่าว “จุดสำคัญคือการตรวจสอบสคริปต์ของคุณอย่างละเอียดถี่ถ้วนและต้องมั่นใจว่าสิ่งที่คุณจะทำมีความชัดเจน และหากมีคำถามใดๆ เกิดขึ้น คำถามเหล่านั้นจะต้องผ่านผู้กำกับและผู้กำกับภาพ ทั้งหมดนี้คือการทำให้มั่นใจว่าทุกอย่างได้รับการวางแผนอย่างรอบคอบแล้ว ก่อนที่คุณจะเริ่มการถ่ายทำ”

ขั้นตอนต่อไปนี้มักจะจำเป็นในการพัฒนาสคริปต์การถ่ายทำ


1. ทำสตอรี่บอร์ด: สร้างสตอรี่บอร์ดจากบทภาพยนตร์เพื่อช่วยกำหนดสไตล์ภาพให้กับโปรเจกต์ของคุณ


2. สร้างรายการสิ่งที่ต้องถ่ายทำ: ผู้กำกับและผู้กำกับภาพจะตรวจสอบบทภาพยนตร์และสร้างรายการสิ่งที่ต้องถ่ายทำโดยละเอียดขึ้นมาสำหรับทุกช็อตที่จำเป็นต่อการถ่ายทำ ผู้กำกับการถ่ายทำหรือ AD (ผู้ช่วยผู้กำกับ) จะเป็นผู้ตัดสินใจลำดับการถ่ายทำสำหรับทุกฉาก


3. เพิ่มทุกรายละเอียด: เมื่อสร้างแผนการถ่ายทำขึ้นมาแล้ว ทุกคนในทีมของคุณ รวมถึงนักออกแบบการถ่ายทำ นักออกแบบและจัดหาอุปกรณ์ประกอบฉาก ตลอดจนนักออกแบบเครื่องแต่งกาย จะตรวจสอบสคริปต์การถ่ายทำเพื่อให้แน่ใจว่าได้รวมข้อมูลทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับการถ่ายทำแต่ละช็อตไว้ในสคริปต์แล้ว

#F5F5F5

คนงานฝ่ายการถ่ายทำสองคนกำลังตรวจสอบโปรไฟล์ของผู้คนในห้องเสื้อผ้า


#F5F5F5

ควรระบุรายละเอียดใดบ้างลงในสคริปต์การถ่ายทำของคุณ

ท้ายที่สุดแล้วการจัดรูปแบบจะขึ้นอยู่กับคุณและสิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทีมหรือบริษัทการถ่ายทำ หากคุณใช้ซอฟต์แวร์การเขียนบท คุณอาจสามารถใช้เทมเพลตสำหรับสคริปต์การถ่ายทำบางรายการในนั้นได้ มีแนวโน้มเป็นอย่างมากว่าคุณจะต้องสร้างเลย์เอาท์แบบสเปรดชีตพร้อมแถวหัวเรื่องที่ระบุแต่ละคอลัมน์ของข้อมูล โดยข้อมูลที่คุณรวมไว้จะขึ้นอยู่กับความต้องการของทีมของคุณ แต่ก็สามารถรวมสิ่งต่อไปนี้ได้

  • หมายเลขฉาก: สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญในการทำให้แน่ใจได้ว่าการถ่ายทำครอบคลุมครบทุกฉากและจะมีประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อเริ่มการตัดต่อ หากต้องการแบ่งย่อยฉากเล็กๆ ภายในฉาก ให้ใช้ตัวอักษร (เช่น ฉาก 1a, 1b, 1c และอื่นๆ)
  • ช็อตจากกล้อง: จะรวมถึงจำนวนและมุมกล้องที่ต้องใช้ในแต่ละฉาก ประเภทของช็อตที่ต้องการ (เช่น ช็อตระยะใกล้ ช็อตระยะกลาง ช็อตข้ามไหล่ ช็อตจากมุมมองบุคคล และอื่นๆ) ตลอดจนข้อมูลพิเศษที่จำเป็นสำหรับช็อตเหล่านั้น เช่น ทิศทางการจัดแสง
  • สิ่งที่ต้องถ่ายทำ: อธิบายถึงสิ่งที่จะแสดงในแต่ละช็อต รวมถึงชื่อของตัวละคร การกระทำที่เกิดขึ้น วัตถุหรือ B-roll ที่ควรถ่ายในแต่ละสถานที่ และบันทึกการแสดงที่ต้องการ
  • ฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก: ระบุสถานที่สำหรับแต่ละช็อต เขียนรายการอุปกรณ์ประกอบฉากหรือการตกแต่งฉากพิเศษที่เกี่ยวข้อง และบันทึกรายละเอียดสำคัญเกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย
  • เอฟเฟกต์พิเศษและฉากผาดโผน: อธิบายถึงฉากผาดโผนใดๆ เอฟเฟกต์พิเศษ หรือการเปลี่ยนฉากที่เกิดขึ้นระหว่างการถ่ายทำหรือการตัดต่อ (เช่น การจางเข้า การตัดภาพจางซ้อนแบบไขว้ การเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันที่คุณจะตัดไปยังฉากถัดไป และอื่นๆ) รวมถึงข้อควรพิจารณาพิเศษที่จำเป็นเพื่อให้สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้
#F5F5F5

ระบบการตัดต่อสำหรับสคริปต์การถ่ายทำ

การถ่ายทำขนาดใหญ่สำหรับภาพยนตร์เต็มเรื่องหรือโทรทัศน์ใช้ระบบโค้ดสีเพื่อทำการตัดต่อ เนื่องจากการแก้ไขจะเกิดขึ้นตลอดในช่วงก่อนการถ่ายทำและระหว่างการถ่ายทำ วิธีนี้จึงเป็นวิธีที่ดีในการแจ้งให้ทุกคนรู้ว่าฉากใดอยู่ในกระบวนการปรับปรุงแก้ไข โดยหน้าต่างๆ จะพิมพ์ลงบนกระดาษเก้าสีที่แตกต่างกันเพื่อระบุว่าอยู่ในขั้นใดของการปรับปรุงแก้ไข และหากมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม วงจรสีก็จะวนซ้ำอีกครั้ง

  1. สีขาว: ยังไม่ได้ปรับปรุงแก้ไข
  2. สีฟ้า: ปรับปรุงแก้ไขครั้งที่หนึ่ง
  3. สีชมพู: ปรับปรุงแก้ไขครั้งที่สอง
  4. สีเหลือง: ปรับปรุงแก้ไขครั้งที่สาม
  5. สีเขียว: ปรับปรุงแก้ไขครั้งที่สี่
  6. สีเหลืองทอง: ปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ห้า
  7. สีเหลืองแกมเทา: ปรับปรุงแก้ไขครั้งที่หก
  8. สีส้มอมแดง: ปรับปรุงแก้ไขครั้งที่เจ็ด
  9. สีแดงเชอรี่: ปรับปรุงแก้ไขครั้งที่แปด

เปลี่ยนสคริปต์การถ่ายทำให้เป็นโปรเจกต์ที่สวยงาม

สคริปต์การถ่ายทำที่ละเอียดจะช่วยให้การถ่ายทำของคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่น เนื่องจากจะเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวในการสร้างวิสัยทัศน์ของคุณ ทุกคนในทีมฝ่ายการถ่ายทำสามารถอ้างอิงแหล่งข้อมูลจริงสำหรับกิจกรรมในแต่ละวันโดยใช้สคริปต์การถ่ายทำได้ และไม่มีใครที่จะเห็นว่าเอกสารนี้สำคัญไปกว่าผู้กำกับบทหรือผู้ใดก็ตามที่รับผิดชอบตรวจสอบว่าได้ถ่ายทุกอย่างครบถ้วนแล้ว

ใช้สคริปต์การถ่ายทำเพื่อจดบันทึกในขณะถ่ายทำภาพยนตร์

ผู้กำกับบทมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนให้ฟุตเทจที่คุณถ่ายทำมาอยู่ในรูปแบบสุดท้ายโดยเป็นวิดีโอหรือภาพยนตร์ที่ตัดต่อเสร็จสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้ทำงานในโปรดักชันที่มีงบประมาณสูง แต่การหาใครสักคนมารับหน้าที่นี้ก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญ ผู้กำกับบทจะคอยดูแลสิ่งที่กำลังถ่ายทำ ระวังปัญหาด้านความต่อเนื่องในเรื่องเครื่องแต่งกายกับสิ่งของอื่นๆ และจดบันทึกลงในสคริปต์ขณะที่การถ่ายทำดำเนินไป

ผู้กำกับบทของคุณจะตรวจสอบให้แน่ใจว่าแต่ละช็อตที่จำเป็นได้ถ่ายเอาไว้ในแบบที่น่าพอใจแล้ว และพวกเขาจะจดบันทึกว่าเทคไหนคือเวอร์ชันที่ดีที่สุดของบางบทพูด หรือฉากไหนที่อาจจำเป็นต้อง “ถ่ายทำเพิ่มเติม” หรือถ่ายซ้ำ เพื่อให้สามารถผสานเทคหนึ่งเข้ากับอีกเทคได้

“ตอนที่ผมทำหน้าที่นั้น ผมจะจดบันทึกอย่างเช่น เทคสามดีกว่าเทคสอง แต่เราจำเป็นต้องถ่ายทำเพิ่มเติมเนื่องจากนักแสดงพูดผิดไปคำนึง ดังนั้นเราจะใช้เทคสามร่วมกับเทคสี่ในการถ่ายทำเพิ่มเติมตั้งแต่จุดนี้” Monnin กล่าว “คุณจะจดบันทึกทั้งหมดนี้ไปเรื่อยๆ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่เพียงแต่ได้ถ่ายทำฉากดังกล่าวไปแล้ว แต่เพื่อให้ได้ฉากที่ถ่ายทำในเวอร์ชันที่ดีและใช้งานได้ด้วยเช่นกัน”

นักตัดต่อวิดีโอกำลังตัดต่อวิดีโอใน Adobe Premiere Pro ขณะที่ตรวจสอบบันทึกการถ่ายทำไปด้วย

แก้ไขฟุตเทจของคุณด้วยสคริปต์การถ่ายทำ

บันทึกที่ละเอียดและสคริปต์การถ่ายทำที่ชัดเจนจะทำให้กระบวนการตัดต่อมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ขณะที่คุณหรือนักตัดต่อของคุณตัดต่อฟุตเทจเข้าด้วยกันในซอฟต์แวร์การประมวลผลหลังการถ่ายทำ เช่น Adobe Premiere Pro คุณสามารถอ้างอิงลำดับการเล่าเรื่องที่ถูกต้องได้โดยใช้หมายเลขฉาก จากนั้นคุณสามารถใช้บันทึกของผู้กำกับบทเพื่อให้ทราบว่าเทคไหนของแต่ละช็อตที่อาจดีที่สุด

ถึงแม้ว่าคุณจะเป็นผู้สร้างภาพยนตร์มือใหม่ที่ไม่มีทีมฝ่ายการถ่ายทำเต็มรูปแบบ คุณก็สามารถรับประโยชน์จากการใช้สคริปต์การถ่ายทำเพื่อจัดระเบียบโปรเจกต์ของคุณได้

“บางคนคิดว่า ‘โอ้ แค่ไปถ่ายแล้วก็เอาสิ่งที่ถ่ายมาใช้และเปลี่ยนให้กลายเป็นอะไรบางอย่างเท่านั้นเอง’ แต่มันไม่ได้เป็นแบบนั้น” Albright กล่าว “คุณต้องเลือกจุดโฟกัสไว้ล่วงหน้าและหาว่าคุณจำเป็นต้องทำสิ่งใดเพื่อสร้างเรื่องราวของคุณก่อนที่จะเริ่มถ่ายทำ”

https://main--cc--adobecom.hlx.page/cc-shared/fragments/seo-articles/do-more-premiere-pro-color-blade

คุณอาจสนใจสิ่งเหล่านี้ด้วย

https://main--cc--adobecom.hlx.page/cc-shared/fragments/seo-articles/seo-caas-collections/video-caas-collection