#1e1e1e

วิดีโอ

สร้างภาพเคลื่อนไหวสมจริงด้วยการโรโตสโคป

เรียนรู้วิธีใช้เทคนิคที่มีอายุนับร้อยปีนี้ในเวอร์ชันทันสมัยเพื่อสร้างภาพยนตร์เคลื่อนไหวของคุณเอง

เริ่มทดลองใช้ฟรี สำรวจ Premiere Pro

https://main--cc--adobecom.hlx.page/cc-shared/assets/video/creativecloud/video/discover/media_1e13cf88fbd0ec38638e56725d42ed3f3cff97b14.mp4#_autoplay | ภาพเคลื่อนไหวของชายที่กำลังรับประทานซูชิ

อธิบายเกี่ยวกับการโรโตสโคป

การโรโตสโคปหมายถึงกระบวนการสร้างลำดับภาพเคลื่อนไหว โดยลอกลายตามฟุตเทจที่ใช้คนแสดงจริงแบบเฟรมต่อเฟรม แม้จะใช้เวลามาก แต่การโรโตสโคปช่วยให้แอนิเมเตอร์สร้างตัวละครที่ดูมีชีวิตและเคลื่อนไหวได้เหมือนกับคนในโลกแห่งความเป็นจริง

เทคนิคการโรโตสโคปยังทำให้ไลท์เซเบอร์ถือกำเนิดขึ้นได้อีกด้วย ในการสร้างเอฟเฟกต์ภาพดาบเรืองแสงในภาพยนตร์เรื่อง Star Wars ต้นฉบับ แอนิเมเตอร์ได้ระบายสีและลงแสงเรืองๆ ของดาบแต่ละเล่มทับแท่งไม้ที่นักแสดงถือในทุกเฟรมที่มีดาบ

ภาพร่างของผู้ชายที่กำลังใช้เทคนิคการโรโตสโคปอายุนับร้อยปี

จดสิทธิบัตรโดย Max Fleischer, ไม่ทราบศิลปิน

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาพเคลื่อนไหวในโลกแห่งความเป็นจริง

ในปี 1915 แอนิเมเตอร์ชื่อ Max Fleischer ได้จดสิทธิบัตรวิธีการโรโตสโคปเป็นครั้งแรก โดยใช้กลวิธีฉายวิดีโอที่ใช้คนแสดงเป็นตัวตลก (Dave น้องชายของเขาเอง) ลงบนแผ่นกระจก แล้วลอกลายตามรูปร่างของตัวตลกทีละเฟรมลงบนกระดาษเพื่อสร้างภาพเคลื่อนไหวที่ดูเหมือนมีชีวิตมากยิ่งขึ้น Fleischer ได้ใช้เทคนิคภาพเคลื่อนไหวนี้สร้างซีรีส์ภาพยนตร์ขนาดสั้นเรื่อง Out of the Inkwell จนตัวตลกที่แสดงโดยน้องชาย (Koko the Clown) มีชื่อเสียงโด่งดัง นอกจากนี้ Fleischer ยังสร้างตัวการ์ตูนอื่นๆ ที่รู้จักกันดีตามมา เช่น Popeye และ Betty Boop โดยใช้เทคนิคโรโตสโคปเพื่อทำให้ท่าเต้นของตัวการ์ตูนเคลื่อนไหวได้เหมือนนักเต้นมืออาชีพ อีกทั้งยังใช้การโรโตสโคปเพื่อให้เกิดความสมจริงเหลือเชื่อในซีรีส์แอนิเมชันเรื่องแรกของ Superman

หลังจากสิทธิบัตรของ Fleischer หมดอายุ Walt Disney ก็ได้นำเทคนิคโรโตสโคปนี้มาใช้ โดยถ่ายซีนต่างๆ ด้วยนักแสดงก่อน แล้วจึงทำการโรโตสโคปการเคลื่อนไหวของนักแสดงจากฟุตเทจดังกล่าวเพื่อนำมาเป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับภาพยนตร์หลายๆ เรื่อง และเรื่องแรกที่ใช้เทคนิคนี้ก็คือ Snow White and the Seven Dwarfs นั่นเอง

ภาพยนตร์โรโตสโคปแสดงคนที่กำลังตีลังกาท่าล้อเกวียน

การทำโรโตสโคปภาพเคลื่อนไหวแบบดิจิทัล

ในปี 1997 โปรแกรมเมอร์และผู้กำกับศิลป์ชื่อ Bob Sabiston ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ภาพเคลื่อนไหว Rotoshop เพื่อสร้างภาพยนตร์สั้นๆ สำหรับส่งเข้าประกวดทาง MTV Sabiston เคยสร้างภาพยนตร์สั้นๆ ไว้มากมายก่อนจะจับมือกับ Richard Linklater เพื่อสร้างภาพยนตร์แอนิเมชันจากเทคนิคโรโตสโคป คือ Waking Life และ A Scanner Darkly Sabiston ใช้วิธีการแทรกโรโตสโคปเพื่อช่วยทุ่นเวลาและแรงของแอนิเมเตอร์ด้วยคีย์เฟรมภาพเวกเตอร์ ซึ่งเฟรมเหล่านี้นั้นสร้างขึ้นโดยซอฟต์แวร์เพื่อทำให้รูปภาพหนึ่งค่อยๆ เปลี่ยนเป็นอีกรูปหนึ่งภายจำนวนเฟรมที่กำหนด

ปัจจุบันนี้ เราใช้การโรโตสโคปกับทุกอย่าง ตั้งแต่การสร้างฟุตเทจวิดีโอภาพเคลื่อนไหวล้วนๆ ไปจนถึงการวางแมตต์บนวิดีโอเพื่อเปลี่ยนนักแสดงให้กลายเป็นสิ่งมีชีวิตในจินตนาการหรือตัวเองในสมัยหนุ่มสาว ผู้สร้างภาพยนตร์รายหนึ่งถึงขนาดทำให้ปลาว่ายอยู่ในอากาศได้เลยทีเดียว

#f5f5f5

เริ่มต้นใช้การโรโตสโคปด้วย Adobe Animate

คุณสามารถลองสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยวิธีโรโตสโคปได้ใน Animate แต่ก่อนที่จะเริ่ม ให้ดูฟุตเทจทั้งหมดจนจบและคิดว่าคุณจะสร้างภาพเคลื่อนไหวจากฟุตเทจนั้นอย่างไร เช่นเดียวกับภาพเคลื่อนไหวเฟรมต่อเฟรมในรูปแบบอื่นๆ การโรโตสโคปเพียงไม่กี่วินาทีเป็นกระบวนการที่ใช้เวลานานและต้องอาศัยความอดทนมาก “คลิปห้าวินาทีอาจใช้เวลาทำห้าถึงสิบชั่วโมง” แอนิเมเตอร์ Mikey Glovart กล่าว “แต่เพราะอย่างนั้น เราเลยรู้สึกชื่นใจมากเมื่อทำเสร็จสักที” การได้ดูตัวละครของคุณมีชีวิตขึ้นมาแม้เพียงไม่กี่วินาที จะทำให้คุณอยากสร้างสรรค์ผลงานต่อไป


ขั้นตอนแรก

สร้างเอกสารใหม่และตั้งค่าเฟรมเรตของคุณ ซึ่งโดยทั่วไป วิดีโอ HD จะเล่นที่อัตรา 24 หรือ 30 เฟรมต่อวินาที (fps) ให้สร้างภาพเคลื่อนไหวของคุณด้วยเฟรมเรตเดียวกับวิดีโออ้างอิงเพื่อให้การเคลื่อนไหวลื่นที่สุด นอกจากนี้ เอกสารใหม่ของคุณยังต้องมีสัดส่วนเดียวกับวิดีโออ้างอิงด้วย เพื่อให้ง่ายต่อการจัดเรียง


ตั้งค่าภาพเคลื่อนไหวของคุณ

เมื่อได้นำเข้าวิดีโอของคุณแล้ว ตั้งค่าให้วิดีโอเล่นครั้งเดียวแทนการเล่นวนซ้ำ และเพิ่มความสว่างเพื่อให้เห็นเส้นที่คุณวาดบนเฟรมวิดีโอได้ง่ายขึ้น จากนั้น สร้างเลเยอร์ใหม่แล้วเลือกคีย์เฟรมของคุณ เฟรมเหล่านี้จะแสดงการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของรูปร่าง (หรือสัญลักษณ์) หรือเผยให้เห็นถึงองค์ประกอบใหม่ ดำเนินการไปแบบเฟรมต่อเฟรม และร่างภาพในแต่ละเฟรม

อย่าลืมบันทึกบ่อยๆ ระหว่างลงมือทำและพยายามมีระบบระเบียบ “ถ้าคุณตั้งชื่อแต่ละเลเยอร์ไม่ถูกต้อง อาจบานปลายเป็นปัญหาใหญ่ได้เลยทีเดียว” Glovart เตือน ระบุชื่อทุกเลเยอร์ให้ชัดเจนเพื่อประหยัดเวลาและลดความยุ่งยากในภายหลัง


เคล็ดลับการวาดภาพ

แบ่งภาพของคุณออกเป็นรูปทรงต่างๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องวาดตัวแบบใหม่ทั้งหมดในทุกเฟรม เช่น แขน ขาส่วนล่าง เท้า ฯลฯ จากนั้น แทนที่จะวาดรูปทรงนั้นในทุกเฟรม ให้คัดลอก ปรับเปลี่ยนการจัดวางในฉาก และย้ายตำแหน่งหากจำเป็น นอกจากนี้ หากคุณสร้างส่วนประกอบอย่างเช่น ขากางเกงและรองเท้าในเลเยอร์เดียวกันสำหรับทุกเฟรม คุณสามารถใส่สีเลเยอร์นั้นในครั้งเดียวได้ จึงไม่จำเป็นต้องใส่สีซ้ำอีกตลอดทั้งเรื่อง และหากเปลี่ยนใจไปใช้สีอื่น คุณก็ไม่ต้องนั่งเปลี่ยนสีทีละเฟรม


Shape Tween เพื่อความรวดเร็ว

หากต้องการเร่งความเร็วขึ้นเล็กน้อยเหมือนที่ Bob Sabiston ทำในภาพยนตร์ของผู้กำกับ Linklater ให้ลองใช้เทคนิค Shape Tween หรือการวาดรูปทรงเวกเตอร์ในเฟรมหนึ่งที่คุณสามารถเปลี่ยนหรือแทนที่ในอีกเฟรมหนึ่งได้ Animate จะแทรกรูปทรงคั่นกลางสำหรับเฟรมต่างๆ ระหว่างสองเฟรมนั้น เพื่อสร้างภาพเคลื่อนไหวของรูปร่างหนึ่งที่ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นอีกรูปร่างหนึ่ง

เครื่องมือดังกล่าวช่วยให้คุณสามารถเปลี่ยนวิดีโอที่มีคนแสดงจริงให้เป็นภาพเคลื่อนไหวล้วนๆ หรือสร้างภาพเคลื่อนไหวสำหรับองค์ประกอบหนึ่งๆ บนฟุตเทจที่มีคนแสดงจริงได้ จำไว้ว่าควรเริ่มต้นจากเรื่องง่ายๆ แล้วเวลา ความอดทน และการลอกลายครั้งแล้วครั้งเล่าจะทำให้ปลายปากกาหรือฝีแปรงของคุณออกมาโลดแล่นได้



ผู้มีส่วนร่วม

Mikey Glovart


https://main--cc--adobecom.hlx.page/cc-shared/fragments/seo-articles/do-more-premiere-pro-color-blade

คุณอาจสนใจสิ่งเหล่านี้ด้วย

https://main--cc--adobecom.hlx.page/cc-shared/fragments/seo-articles/seo-caas-collections/video-caas-collection