#1E1E1E

วิดีโอ

ประกอบและปรับแต่งฟุตเทจด้วยกระบวนการหลังการถ่ายทำ

เข้าสู่ขั้นตอนการสร้างภาพยนตร์และสำรวจวิธีการรวมและขัดเกลาฉากต่างๆ สำหรับจอเงิน รับเคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับพื้นฐานการตัดต่อ ตั้งแต่การรวมคลิปไปจนถึงผลงานสำเร็จ

เริ่มทดลองใช้ฟรี สำรวจ Premiere Pro

คนกำลังตัดต่อวิดีโอหลังการถ่ายทำอยู่ที่โต๊ะคอมพิวเตอร์

เิกดอะไรขึ้นหลังจากการถ่ายทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว

หลายคนไม่เคยพิจารณาว่าผู้สร้างภาพยนตร์ใช้เวลานานเท่าใดในการถ่ายทำภาพยนตร์ และใช้เวลานานเท่าใดในการผสานสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกันในขั้นตอนหลังการถ่ายทำ แต่คุณจะไม่มีวันได้ชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์เลยหากไม่มีการตัดต่อ การผลิตเสียง และการแก้ไขสีที่เกิดขึ้นหลังจากการถ่ายทำจริง

ขั้นตอนหลังการถ่ายดึงองค์ประต่างๆ ทั้งหมดที่สร้างขึ้นระหว่างการผลิตภาพยนตร์มาไว้ด้วยกัน และใช้การถ่ายโอนไฟล์ภาพและเสียงไปยังไฟล์คอมพิวเตอร์เพื่อทำงานภายในโปรแกรมทำงานตัดต่อ ในระหว่างกระบวนการนี้ เป็นหน้าที่ของคุณในฐานะผู้ตัดต่อในการซิงค์ไฟล์กับวิดีโอ เอฟเฟกต์ภาพ เอฟเฟกต์สด และทุกอย่างที่มีจากการผลิตเพื่อสร้างภาพยนตร์ทั้งเรื่อง

“ในเส้นทางอาชีพของผม กระบวนการหลังการถ่ายทำอาจใช้เวลาตั้งแต่หนึ่งเดือนถึงหนึ่งปีหรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับโปรเจ็กต์และลักษณะงาน” ผู้กำกับ Jay Holben กล่าว ซึ่งแน่นอนว่าประเภทของภาพยนตร์จะเป็นตัวกำหนดระยะเวลาที่คุณใช้ในการตัดต่อทั้งหมด ซึ่งอาจแตกต่างกันออกไป แต่นี่เป็นขั้นตอนทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดต่อและสรุปโครงการของคุณ

ภายในเวิร์กโฟลว์

ก่อนการตัดต่อและงานหลังการถ่ายทำใดๆ การผลิตวิดีโอ จะเริ่มต้นด้วยขั้นตอนก่อนการถ่ายทำ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับทุกอย่างตั้งแต่การจัดหาเงินทุน การวางแผน การจ้างงาน และงานทุกอย่างในระหว่างการรับสมัครทีมงาน ค้นหาสถานที่ และเวิร์กช็อปสคริปต์ หลังจากขั้นตอนนี้สำเร็จ การถ่ายทำของคุณก็มีแผนแล้ว ต่อมาคือการถ่ายทำจริง หรือที่เรียกว่าขั้นตอนการผลิต นี่คือเวลาที่คุณถ่ายฟุตเทจในสถานที่ โดยจะถ่ายตามสถานที่ต่างๆ หรือในสตูดิโอถ่ายทำ หรือทั้งสองอย่าง

ทีมงานฝ่ายผลิตกำลังจัดเตรียมวิดีโอรอบๆ กระท่อมเล็กๆ ในสวนสาธารณะ
เมื่อการถ่ายทำเสร็จสิ้นแล้ว ก็ถึงเวลาสำหรับขั้นตอนหลังการถ่ายทำ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้ความร่วมมือสูงซึ่งเกี่ยวข้องกับสมาชิกในทีมหลายคน เช่น นักตัดต่อเสียง นักสร้างเสียง นักแก้ไขสี และอื่นๆ และยังมีสมาชิกในทีมเอฟเฟกต์ภาพที่สร้างจะสร้างงานภาพเพิ่มเติมโดยใช้กรีนสกรีนและคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างเอฟเฟกต์ในโปรแกรม เช่น Adobe After Effects นอกจากนี้ คุณจะมีไฟล์บันทึกเสียงบทสนทนาของนักแสดง เพลงจากนักแต่งเพลง เอฟเฟกต์เสียง และเสียงที่มิกซ์เสียงทั้งหมดในภาพยนตร์

บทบาทการสร้างภาพยนตร์ที่แตกต่างกันมีส่วนในกระบวนการหลังการถ่ายทำอย่างไร:

  • ผู้สร้างภาพยนตร์/ผู้กำกับ/ผู้อำนวยการสร้าง: ถ่ายโอนฟุตเทจทั้งหมดไปยังที่จัดเก็บที่เชื่อถือได้
  • นักตัดต่อ: ตัดต่อรูปภาพและฟุตเทจรอว์
  • ผู้กำกับภาพ: ตรวจสอบให้มั่นใจได้ว่าสีและความรู้สึกของทุกช็อตจะเข้ากับสไตล์ของภาพยนตร์อย่างแท้จริง
  • นักมิกซ์เสียง นักออกแบบเสียง นักตัดต่อเสียงและนักสร้างเสียง: รับผิดชอบเสียงทั้งหมดตั้งแต่บทสนทนาไปจนถึงเอฟเฟกต์เสียง
  • นักประพันธ์ดนตรี/ผู้ควบคุมดนตรี: แต่งเพลงหรือจัดหาเพลง
  • ผู้ดูแล/วิศวกร VFX: สร้างเอฟเฟกต์ภาพ
  • นักแก้ไขสี: แก้ไขสีในไฟล์
  • นักตัดต่อ: เพิ่มชื่อเรื่อง เครดิต และกราฟิก

คุณยังสามารถใช้ขั้นตอนหลังการถ่ายทำและเทคนิคใดๆ ก็ตามที่นำไปใช้กับการสร้างภาพยนตร์แบบดั้งเดิมในวิดีโอการตลาดเพื่อการส่งเสริมการขายได้ ความแตกต่างหลักของเวิร์กโฟลว์ด้านการโฆษณาและอุตสาหกรรมภาพยนตร์คือ นักตัดต่อในโฆษณาจะมีหน้าที่มากกว่าเนื่องด้วยเหตุผลด้านงบประมาณ โดยมักต้องทำหน้าที่การกำกับ ถ่ายทำ และตัดต่อไปด้วย

#F5F5F5

เบื้องหลังกระบวนการการตัดต่อ

นอกเหนือจากเทคนิคต่างๆ การตัดต่ออาจเป็นกระบวนการที่ต้องใส่ใจอย่างมาก เนื่องจากคุณกำลังทำงานกับเนื้อหาจำนวนมาก ต้องตัดสินใจอะไรหลายอย่าง อย่างไรก็ตาม กล้องสมัยใหม่และความสามารถในการจัดระเบียบไฟล์ฟุตเทจดิจิทัลทำให้การตัดต่อบางส่วนง่ายขึ้น ในขณะที่ส่วนอื่นๆ กลายเป็นเรื่องที่ท้าทายมากขึ้น

“เราเคยระมัดระวังอย่างมากในการถ่ายทำภาพยนตร์ เนื่องจากฟิล์มมีราคาสูง” ผู้กำกับและนักเขียนบท Steven Bernstein กล่าว “เราจะวางแผนการถ่ายทำแต่ละครั้งอย่างระมัดระวัง จำกัดจำนวนเทค และทำเครื่องหมายโดยใช้กระดานชนวนเขียนด้วยชอล์คหรือปากกาเคมี แต่ด้วยกล้องดิจิทัล ในตอนนี้เราใช้กระดานอิเล็กทรอนิกส์และยังคงทำเครื่องหมายการถ่ายทำอยู่ แต่แนวโน้มก็คือการปล่อยให้กล้องถ่ายทำไป เนื่องจากกล้องดิจิทัลนั้นมีราคาถูกกว่าฟิล์ม ซึ่งหมายความว่านักตัดต่อจะลงเอยด้วยเนื้อหาหลายร้อยหรือหลายพันชั่วโมง”

หลังจากที่คุณมีฟุตเทจทั้งหมดแล้ว งานของคุณในฐานะนักตัดต่อคือการกลั่นกรองคลิปที่เลือกมาและคลิปอื่นๆ ทั้งหมดเพื่อค้นหาคลิปที่ดีที่สุดที่แสดงถึงตัวละคร ความซับซ้อน และองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ ที่ช่วยเสริมการเล่าเรื่องโดยรวม ทันทีที่คุณพอจับต้นชนปลายถูกเกี่ยวกับเนื้อหาที่คุณวางแผนจะใช้จากชุดฟุตเทจรอว์นั้น คุณสามารถเริ่มกระบวนการตัดต่อได้


#F5F5F5

เลือกช็อตของคุณ

ทีมงานจะเก็บภาพประเภทต่างๆ ในระหว่างการถ่ายทำจริง บ่อยครั้ง ภาพยนตร์เริ่มต้นด้วยภาพมุมกว้าง ซึ่งแสดงสถานที่ถ่ายทำของฉากทั้งหมด ภาพุมกว้างสามารถกระตุ้นผู้ชมได้ ดังนั้นพวกเขาจึงเข้าใจมุมมองของตัวละครหลัก ภาพระยะกลาง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะแสดงตัวละครตั้งแต่ช่วงเอวขึ้นไป เป็นที่ที่ผู้ชมได้สัมผัสกับการแสดงออกของตัวละครและวิธีที่พวกเขาโต้ตอบกับตัวละครอื่นๆ ท้ายที่สุด การซูมภาพระยะใกล้เพื่อเน้นการแสดงและอารมณ์

“ในภาพมุมกว้าง คุณจะไม่รู้สึกถึงตัวละครมากนัก” Bernstein กล่าว “แต่เมื่อคุณเข้าไปใกล้มาก ผมหมายถึงใกล้มากๆ ถึงขั้นเห็นน้ำตาหยดน้อยไหลอาบแก้ม หรือเห็นการขยับคิ้ว หรือความเศร้าเล็กน้อย หรือความกลัวที่มุมปาก คุณก็ได้เพิ่มการสื่ออารมณ์ให้ชัดเจนมากขึ้นแล้ว” โดยปกติ ในช่วงเริ่มต้นของกระบวนการตัดต่อนี้ นักตัดต่อจะตัดสินใจว่าเมื่อใดควรใช้ภาพมุมกว้าง กลาง หรือระยะใกล้


#F5F5F5

เริ่มต้นการประกอบ

ขั้นตอนต่อไปสำหรับนักตัดต่อโดยทั่วไปแล้วจะทำงานตามลำพังเพื่อตัดต่อภาพยนต์ในรอบแรก เรียกว่าการตัดต่อเบื้องต้น ส่วนนี้ของกระบวนการนี้เรียกว่าการประกอบ ซึ่งนักตัดต่อจะประกอบฟุตเทจรอว์ทั้งหมดเข้าด้วยกันแบบคร่าวๆ ณ จุดนี้ ภาพยนตร์ยังมีความยาวเกินไป การถ่ายทำไม่แม่นยำ และมีจังหวะที่ไม่เข้าทาง แต่ทุกๆ อย่างก็อยู่ในลำดับที่ถูกต้อง นี่จะเป็นช่วงที่ผู้กำกับจะเข้ามาดูการตัดต่อของคุณ

#F5F5F5
บุคคลกำลังแก้ไขไทม์ไลน์วิดีโอบนคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปโดยมีบุคคลอื่นยืนและชี้ไปที่หน้าจอ
#F5F5F5

ผู้กำกับจะแนะนำว่าอะไรใช้ได้ อะไรใช้ไม่ได้ และชี้ให้เห็นถึงจังหวะที่ยอดเยี่ยมในภาพยนต์ และเสนอแนวคิดเพิ่มเติมที่พวกเขามี จากนั้น นักตัดต่อจะตัดต่อฟิล์มซ้ำไปซ้ำมา โดยปกติ กระบวนการนี้อาจใช้เวลาถึง 10 สัปดาห์หรือมากกว่านั้นสำหรับภาพยนตร์เต็มเรื่อง

และในที่สุดภาพยนต์ที่จัดลำดับมาเรียบแล้วก็จะผ่านการตัดต่ออย่างประณีต ซึ่งทุกอย่างอยู่ในช่วงจังหวะที่เหมาะสม แต่ละฉากเป็นไปตามที่ตั้งใจไว้ เมื่อการตัดต่อเสร็จสมบูรณ์ คุณจะต้องมีรายการการตัดสินใจแก้ไข (EDL) ซึ่งหมายถึงคุณจะต้องตัดต่อสำเนาเนื้อหาต้นฉบับ ซึ่งเป็นสำเนาความละเอียดต่ำที่ใช้พื้นที่บนคอมพิวเตอร์น้อยลง

“จากนั้น EDL จะถูกนำเข้าไปในคอมพิวเตอร์ และกลับไปเป็นไฟล์ความละเอียดสูงขนาดใหญ่ดั้งเดิมที่คุณถ่ายในกองถ่าย และคัดลอกการตัดต่อของคุณลงบนไทม์ไลน์” Bernstein กล่าว และในตอนนี้คุณจะมีงานคุณภาพสูงที่จะนำไปใช้ในแล็บ สตูดิโอ หรือโปรแกรมใส่เอฟเฟกต์


#F5F5F5

เพิ่มเอฟเฟกต์พิเศษ

สำหรับภาพยนตร์ที่ต้องการเอฟเฟกต์ภาพ (VFX) หรือภาพที่สร้างโดยคอมพิวเตอร์ (CGI) เช่นเดียวกับที่สร้างใน After Effects ทีมงาน VFX จะเพิ่มเข้าไปเมื่อการตัดต่อเสร็จสิ้น เนื่องจากเอฟเฟกต์ภาพอาจมีค่าใช้จ่ายสูง ฝ่านการผลิตจึงต้องทำให้มั่นใจว่าพวกเขากำลังเรนเดอร์ผลเอฟเฟกต์พิเศษสำหรับฉากและช่วงเวลาที่จะไปปรากฏในภาพยนต์ฉบับที่จะออกฉายเท่านั้น


#F5F5F5

ได้เวลาที่ผู้กำกับภาพจะทำหน้าที่

หลังจากการตัดต่อเสร็จสมบูรณ์แล้ว คุณสามารถเริ่มต้นการปรับสีของฟิล์ม หรือที่เรียกว่าการแก้ไขสีหรือการเกรดสีได้

ผู้กำกับภาพจะเข้ามาดูส่วนตัดของภาพยนตร์ที่ฉายบนจอเงินและใช้กลไกและอุปกรณ์ต่างๆ ในการระบายสีหรือแก้ไขสีของภาพ ตัวอย่างเช่น การกำหนดเวลาปรากฎของสีช่วยให้คุณทำให้ภาพมืดขึ้นหรือสว่างขึ้น เปลี่ยนความสมดุลของสี แรเงาสิ่งต่างๆ และเปลี่ยนขนาดของเฟรม

จากนั้นผู้กำกับจะดูงานด้านการเกรดสีที่ผู้กำกับภาพและช่างเทคนิคทำร่วมกัน กระบวนการนี้จะเริ่มต้นขึ้นในเวลาเดียวกับการตัดต่อเสียง

#F5F5F5

ภาพถ่ายบุคคลนั่งข้างราวจับหินพร้อมวงล้อสีและเครื่องมือ Match ซ้อนทับอยู่


#F5F5F5

มิกซ์เสียง

เมื่อผู้กำกับพอใจกับงานการเกรดสีของผู้กำกับภาพแล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้จะเข้าสู่การมิกซ์เสียง ซึ่งจะแต่งเติมเสียงต้นฉบับที่บันทึกไว้โดยการเพิ่มสไตล์เสียงอื่นๆ ที่หลากหลายเข้าไปด้วย

การมิกซ์เสียงหรือการตัดต่อจะเริ่มขึ้นเมื่อการตัดต่อภาพยนตร์เสร็จสิ้น นี่คือตอนที่นักสร้างเสียง จะกลับมาเพื่อสร้างเสียงขึ้นมาใหม่ หรือนักแสดงกลับเข้ามาเพื่อบันทึกฉากใหม่อีกครั้ง หลังจากลบเสียงที่ไม่ต้องการออกแล้ว นักมิกซ์เสียงจะเพิ่มเสียงรบกวนรอบข้าง เสียงพากย์ เสียงเพลง หรือเอฟเฟกต์เสียงเข้าไป จากนั้นจะส่งต่อไปยังนักออกแบบเสียง ผู้ที่ผสานเสียงเพลง บทพูด และเอฟเฟกต์เสียงที่สร้างขึ้น เข้าด้วยกันเพื่อสร้างแทร็กเสียงที่จะเข้าไปอยู่ในภาพยนต์

งานออกแบบเสียงอาจกินเวลามากถึงสามสัปดาห์ แต่โดยปกติแล้วจะไม่เริ่มต้นขึ้นจนกว่าการตัดต่อจะเสร็จสมบูรณ์ “ทุกอย่างจะย้อนกลับมาที่นักตัดต่อ เพราะนักตัดต่อจะเป็นคนสุดท้ายที่กดปุ่มส่งออกเพื่อส่งภาพยนต์นั้นออกไป” นักตัดต่อวิดีโอ Cody Liesinger กล่าว "หน้าที่ของนักตัดต่อในกระบวนการหลังการถ่ายทำคือการพิจารณาผลงานเมื่อทุกอย่างถูกนำมารวมกันและดึงจุดเด่นของแต่ละสิ่งออกมาให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบการเคลื่อนไหว การรีทัช การมิกซ์เสียง การปรับระดับสี หรือดนตรี"


เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้น

เมื่อคุณรวมงานออกแบบเสียงที่เสร็จสมบูรณ์ลงในมิกซ์และรวมเข้ากับรูปภาพที่มีการแก้ไขสีซึ่งผู้กำกับภาพสร้างขึ้นมา คุณก็แค่เพิ่มชื่อเรื่องเข้าไป เท่านี้ภาพยนตร์ก็พร้อมที่จะฉายบนจอยักษ์แล้ว

เมื่อคุณเข้าใจถึงกระบวนการหลังการถ่ายทำแล้ว คุณสามารถเริ่มตัดต่อวิดีโอ ภาพยนตร์สั้น หรือสารคดีของคุณเองได้ในซอฟต์แวร์ตัดต่อวิดีโออย่าง Adobe Premiere Pro และหากคุณกำลังมองหาแรงบันดาลใจ ให้คุณกลับไปนั่งดูภาพยนตร์ในดวงใจของคุณใหม่อีกครั้ง ยังมีอะไรให้ค้นพบอีกมากมายสำหรับการถ่ายทำและการตัดต่อ

https://main--cc--adobecom.hlx.page/cc-shared/fragments/seo-articles/do-more-premiere-pro-color-blade