วิดีโอ
ภาพเคลื่อนไหวแบบคีย์เฟรมสำหรับมือใหม่
การกำหนดคีย์เฟรมเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการสร้างภาพเคลื่อนไหว เอฟเฟกต์ และกราฟิกเคลื่อนไหว ทำความเข้าใจวิธีการใช้คีย์เฟรมใน Adobe After Effects, Animate และ Character Animator
![คนกำลังกำหนดคีย์เฟรมใน Adobe After Effects](./media_11a9643741ac1f0fc683cd1dc2b669f94077a2c07.png?width=750&format=png&optimize=medium)
การกำหนดคีย์เฟรมคืออะไร
การสร้างภาพเคลื่อนไหวในยุคแรกๆ นั้น จะต้องวาดแต่ละเฟรมของผลงานด้วยมือ ตอนนี้แอนิเมเตอร์สามารถประหยัดเวลาทำงานได้นับชั่วโมง หรือแม้แต่นับสัปดาห์หรือนับเดือนได้โดยใช้ภาพเคลื่อนไหวแบบคีย์เฟรมดิจิทัลเพื่อระบุองค์ประกอบต่างๆ ของกราฟิก และเลือกลักษณะการเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบเหล่านี้เมื่อเวลาผ่านไป เพื่อที่จะสร้างการเคลื่อนไหวในลำดับภาพเคลื่อนไหวดิจิทัล ขั้นแรกคุณต้องกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดสำหรับการเคลื่อนไหวนั้นๆ จุดเหล่านี้เรียกว่าคีย์เฟรม ซึ่งใช้เป็นจุดยึดสำหรับการเคลื่อนไหวในโปรแกรมภาพเคลื่อนไหวประเภทต่างๆ รวมถึง Adobe After Effects, Animate และ Character Animator
พื้นฐานเกี่ยวกับภาพเคลื่อนไหวแบบคีย์เฟรม
สมมติว่าคุณต้องการสร้างวงกลมให้เด้งเหมือนลูกบอลผ่านหน้าจอหรือเฟรมของวิดีโอ ในการทำให้ลูกบอลเคลื่อนไหวจากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่ง ให้ตั้งค่าคีย์เฟรมแรกบนไทม์ไลน์ของภาพเคลื่อนไหว ณ เวลาที่คุณต้องการให้ลูกบอลเริ่มต้น และคีย์เฟรมใหม่ต่อไปถัดจากนั้นบนไทม์ไลน์ที่คุณต้องการให้ลูกบอลหยุดลง
สิ่งที่คุณสามารถเปลี่ยนได้ด้วยคีย์เฟรม
คุณไม่เพียงแต่ใช้คีย์เฟรมในการทริกเกอร์ให้เกิดการเปลี่ยนตำแหน่งได้เท่านั้น วัตถุที่เคลื่อนไหวจะมีคุณลักษณะต่างๆ ซึ่งคุณปรับได้ด้วยคีย์เฟรม เรียกว่าพารามิเตอร์ โดยรวมถึงสิ่งต่างๆ เช่น จุดยึด ตำแหน่ง ขนาด การหมุน และความทึบ สำหรับการเปลี่ยนแปลงตามการเคลื่อนไหวอย่างการเปลี่ยนตำแหน่งหรือการหมุน คุณสามารถปรับค่าพารามิเตอร์ก่อนวางคีย์เฟรมได้ เพียงแค่คลิกและลากวัตถุ
Interpolation ประเภทต่างๆ ของคีย์เฟรม
วิธีการ Interpolation คือลักษณะของการเกิดการกระทำหรือการเคลื่อนไหว Bezier หรือการเคลื่อนไหวแบบ "ค่อยเป็นค่อยไป" มักเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะเลียนแบบการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติได้สมจริง วัตถุจะค่อยๆ เคลื่อนออกจากตำแหน่งเริ่มต้นและค่อยๆ เข้าสู่ตำแหน่งสุดท้ายโดยการปรับระดับตามลักษณะที่คุณต้องการ
- Linear Interpolation: ค่าเริ่มต้นนี้จะสร้างการเปลี่ยนแปลงเสมอกันที่เกือบจะเหมือนหุ่นยนต์
- Hold Interpolation: การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นในทันทีที่คีย์เฟรมถัดไป
- Bezier หรือ Ease Interpolation: การเปลี่ยนแปลงนี้จะอิงตามเส้นโค้งการเคลื่อนไหวที่คุณสามารถปรับได้เอง
https://main--cc--adobecom.hlx.page/cc-shared/fragments/seo-articles/after-effects-card
คีย์เฟรมใน Adobe After Effects
คีย์เฟรมเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างเอฟเฟกต์แบบเคลื่อนไหวและกราฟิกเคลื่อนไหวใน After Effects คุณจะใช้โปรแกรมอย่าง Animate หรือ Character Animator จัดการได้เฉพาะส่วนที่เป็นภาพเคลื่อนไหวในผลงานทั้งหมดของคุณเท่านั้น แต่ด้วย After Effects คุณสามารถรวมองค์ประกอบแบบเคลื่อนไหวลงในคลิปวิดีโอของจริงได้ เรียนรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับการตั้งค่า การเลือก หรือการลบคีย์เฟรมใน After Effects หรือดูวิดีโอช่วยสอนที่แสดงบทสรุปย่อเกี่ยวกับการสร้างเส้นทางการเคลื่อนไหว
![การเพิ่มคีย์เฟรมลงใน Adobe After Effects](./media_1b279c41e7cc4492f56478e4b3728930b2929c408.png?width=750&format=png&optimize=medium)
วิธีเพิ่มคีย์เฟรมใน After Effects
ทำตามขั้นตอนด้านล่างนี้เพื่อเพิ่มคีย์เฟรมให้กราฟิกใน After Effects
1. เลือกเลเยอร์ที่คุณต้องการทำให้เคลื่อนไหว และคลิกเพื่อแสดงพารามิเตอร์ Transform สำหรับเลเยอร์ดังกล่าว
2. เลือกพารามิเตอร์หรือวิธีที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลงเลเยอร์
3. ย้ายตัวชี้ตำแหน่ง (เครื่องหมายสีน้ำเงินที่บอกตำแหน่งที่คุณอยู่บนไทม์ไลน์) ไปยังตำแหน่งที่คุณต้องการวางคีย์เฟรม และวางกราฟิกของคุณไว้ที่ตำแหน่งเริ่มต้นหรือการตั้งค่าพารามิเตอร์ที่ต้องการ
4. คลิกที่นาฬิกาจับเวลาถัดจากพารามิเตอร์ที่เลือกเพื่อเพิ่มคีย์เฟรมแรก
5. เลื่อนไปข้างหน้าในไทม์ไลน์ แล้ววางตัวชี้ตำแหน่งลงในตำแหน่งที่คุณต้องการให้การเคลื่อนไหวสิ้นสุดลง จากนั้นวางกราฟิกไว้ที่ตำแหน่งสิ้นสุดหรือการตั้งค่าพารามิเตอร์สิ้นสุดที่ต้องการเพื่อกำหนดคีย์เฟรมที่สอง
6. เปลี่ยนวิธีการ Interpolation โดยคลิกขวาที่คีย์เฟรม จากนั้นคลิกที่ Keyframe Assistant แล้วเลือกวิธีที่คุณต้องการ
7. ในการคัดลอกคีย์เฟรม เช่น หากคุณต้องการเพิ่มเฟรมกลางที่เลียนแบบการเคลื่อนไหวของเฟรมก่อนหน้า ให้ใช้เครื่องมือ Lasso เพื่อเลือก คัดลอก และวางลงในตำแหน่งที่คุณต้องการทำซ้ำบนไทม์ไลน์
![Adobe Animate](./media_1e631486da3be22c4462e8c5ca110390c9345d586.png?width=750&format=png&optimize=medium)
คีย์เฟรมใน Adobe Animate
หากคุณต้องการสร้างคลิปภาพเคลื่อนไหว 2 มิติสำหรับเกม รายการโทรทัศน์ หรือเว็บไซต์ Animate คือโปรแกรมสำหรับคุณ และเช่นเดียวกับ After Effects คีย์เฟรมคือพื้นฐานของการสร้างภาพเคลื่อนไหวใน Animate ภาพเคลื่อนไหวใน Animate จะใช้ช่วงเฟรมแบบ Tween ซึ่งหมายถึงเฟรมที่ครอบคลุมระยะเวลาระหว่างสองคีย์เฟรมที่มีองค์ประกอบที่เคลื่อนไหว คีย์เฟรมในแอปนี้จะแสดงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่ใช่สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดอย่างใน After Effects หรือ Character Animator
![การเพิ่มคีย์เฟรมใน Adobe Animate](./media_16a26a6cb4758997ac9c733c2e2d447ebd17b19eb.png?width=750&format=png&optimize=medium)
ทำความรู้จักกับคีย์เฟรมและการทำ Tween ใน Animate
ก่อนที่คุณจะเริ่มออกแบบภาพเคลื่อนไหวหรือเกมเป็นครั้งแรก ให้ศึกษาพื้นฐานวิธีการทำงานของคีย์เฟรมบนไทม์ไลน์ของ Animate จากนั้นค่อยเจาะลึกรายละเอียดของการทำ Tween ด้วยคีย์เฟรมใน Animate ผ่านบทช่วยสอนนี้
![Adobe Character Animator](./media_109b4e4e41947c6c6e306a7ce97f5bb01dc108d6f.png?width=750&format=png&optimize=medium)
คีย์เฟรมใน Adobe Character Animator
Character Animator จะใช้เทคโนโลยีติดตามการเคลื่อนไหวเพื่อติดตามการเคลื่อนไหวและการแสดงออกบนใบหน้าผ่านกล้องคอมพิวเตอร์ แล้วส่งต่อไปบนตัวละคร 2 มิติ หรือหุ่นเชิด คุณสามารถเลือกเพิ่มคีย์เฟรมให้กับภาพเคลื่อนไหวของคุณได้หากต้องการสร้างการเคลื่อนไหวที่แม่นยำยิ่งขึ้น หรือการเคลื่อนไหวที่ใช้เทคโนโลยีติดตามการเคลื่อนไหวทำได้ยาก คีย์เฟรมใน Character Animator จะมีลักษณะและการทำงานคล้ายกับใน After Effects
![การเพิ่มคีย์เฟรมใน Adobe Character Animator](./media_1c0c9f41c21c7376f256914495d8b45a447f042fd.png?width=750&format=png&optimize=medium)
รวมคีย์เฟรมเข้ากับการติดตามการเคลื่อนไหว
ทำความคุ้นเคยกับวิธีใช้คีย์เฟรมใน Character Animator อย่างรวดเร็วหรือดูวิดีโอทีละขั้นตอนที่ยาวกว่า ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการกำหนดคีย์เฟรมมากขึ้น
คำถามที่พบบ่อย
คุณสามารถใช้คีย์เฟรมในโปรแกรมอื่นของ Adobe ได้หรือไม่
คีย์เฟรมและ Creative Cloud
ลำดับคีย์เฟรมคือสิ่งที่จำเป็นในแอปพลิเคชันต่างๆ มากมาย แต่หากใช้งานกับโปรแกรมใน Adobe Creative Cloud จะมีข้อดีอยู่ อย่างหนึ่งคือความสามารถในการดึงงานมาจากแอปอื่นๆ เช่น Adobe Illustrator และ Photoshop เมื่อทำการรวมสื่อประเภทต่างๆ ไว้ในโปรเจกต์วิดีโอเดียว และความรู้เกี่ยวกับคีย์เฟรมในแอปหนึ่งยังสามารถนำไปใช้กับแอปอื่นๆ ใน Creative Cloud ได้อีกด้วย Adobe ทำให้การใช้คีย์เฟรมประเภทต่างๆ ตลอดจนการปรับการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างให้ตรงตามที่คุณต้องการกลายเป็นเรื่องง่ายดาย