สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในการมิกซ์เพลงสำหรับมือใหม่

การสร้างมิกซ์ที่ดีเป็นส่วนสำคัญของงานวิศวกรรมเสียง เจาะลึกแนวคิดเกี่ยวกับการปรับมิกซ์เพลงคร่าวๆ ของคุณให้ดีขึ้นอีกระดับ

ภาพระยะใกล้ของซาวด์บอร์ดที่มีนิ้วมือกำลังปรับการตั้งค่า

การมิกซ์เพลงนำทุกสิ่งมารวมไว้ด้วยกัน

การมิกซ์เสียงคือส่วนสำคัญในการทำเพลง แม้ว่ามักจะเป็นตัวเอกที่ไม่ได้เป็นที่กล่าวถึงของกระบวนการก็ตาม วิศวกรด้านการมิกซ์เสียงจะนำแต่ละแทร็กมารวมเข้าด้วยกันเพื่อเรียบเรียงเพลงขั้นสุดท้าย โดยปรับแต่งเสียงเครื่องดนตรีและผู้ขับร้องแต่ละเสียง ขณะเดียวกันก็ผสมผสานทุกสิ่งอย่างลงตัวจนกลายเป็นผลงานสำเร็จ เริ่มต้นสร้างมิกซ์เสียงของคุณเองด้วยเคล็ดลับในการมิกซ์เหล่านี้

สิ่งที่ควรทำ: ศึกษาหลักพื้นฐาน

การมิกซ์เพลงไม่ใช่แค่การควบคุมระดับเสียง วิศวกรเสียงยังควบคุมการแพน (ตำแหน่งที่แต่ละเครื่องดนตรีอยู่ใน Stereo Spectrum), กำจัดเสียงทึบด้วยการปรับ Equalizer (EQ) และควบคุมเอฟเฟกต์ที่ผู้เล่นแต่ละคนอาจนำมาใช้กับเครื่องดนตรีของตนเอง การทำความเข้าใจพื้นฐานของแนวคิดเหล่านี้และวิธีนำมาใช้กับการทำงานด้วยซอฟต์แวร์วิศวกรรมเสียงจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเสริมสร้างความรู้ของคุณ

 

สิ่งที่ไม่ควรทำ: พยายามมิกซ์บางสิ่งที่ไม่ใช่

เมื่อได้ชุดเครื่องมือใหม่ๆ ที่น่าสนใจ คุณอาจรู้สึกอยากใช้เครื่องมือชุดนี้กับทุกๆ อย่างในกระบวนการมิกซ์เสียง แต่จำไว้ว่ากฎง่ายๆ ทั่วไปคือการมิกซ์เสียงที่ดีจะนำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ก่อน

วิศวกรเสียง Peter Rodocker จะพิจารณาทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องเพื่อทำความเข้าใจว่าสิ่งต่างๆ ควรเป็นอย่างไร “เมื่อคุณเริ่มคิดว่าองค์ประกอบที่สำคัญในเพลงมีอะไรบ้าง คุณก็จะสามารถผสมผสานจนเจอจุดสมดุลที่คุณคิดว่าควรจะเป็นได้อย่างคร่าวๆ ไม่ว่าจะเป็นวิธีเล่นเครื่องดนตรีในเพลงและวิธีที่เครื่องดนตรีต่างๆ ประสานกัน”

สิ่งที่ควรทำ: คำนึงถึงชุดลำโพง/ห้องโฮมสตูดิโอของคุณ

พื้นที่จริงในบริเวณที่คุณมิกซ์เพลงสามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างมากกับผลงานสำเร็จ “เสียงสตูดิโอของคุณจะดีแค่ไหนขึ้นอยู่กับห้องที่คุณอยู่” Gus Berry วิศวกรเสียงกล่าว “ห้องที่คุณอยู่คือเครื่องขยายเสียงที่ลำโพงจะส่งออกมา” ตำแหน่งของลำโพงก็มีความสำคัญ โดยต้องคำนึงถึงระยะจากลำโพงตัวอื่นและส่วนอื่นๆ ของห้องด้วย ห้องที่จัดไว้อย่างเหมาะสมจะช่วยได้มากในการสร้างมิกซ์เสียงที่ยอดเยี่ยม

สตูดิโอบันทึกเสียงที่จัดวางอุปกรณ์เครื่องเสียงและเปียโนไว้

สิ่งที่ไม่ควรทำ: ใส่เสียงสะท้อนและปลั๊กอินอื่นๆ มากเกินไป

เสียงสะท้อนทำให้เสียงจากเครื่องดนตรีหนึ่งๆ ก้องตลอดทั้งแทร็ก โดยธรรมชาติของเครื่องดนตรีหลายประเภท (ยกตัวอย่างเช่น เครื่องดนตรีประเภทอะคูสติกอย่างกีตาร์) จะมีเสียงสะท้อนอยู่แล้ว ข้อผิดพลาดอย่างหนึ่งของวิศวกรเสียงมือใหม่หลายคนคือการทำเสียงสะท้อนมากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลให้แทร็กมีเสียงทึบหนาได้ ดังนั้น ให้ใช้เสียงสะท้อนแต่พอดีเพื่อช่วยสร้างมิกซ์ที่มีพลังและให้ช่วงเสียงกว้างครอบคลุมย่านความถี่ทั้งสูงและต่ำ หากมิกซ์เสียงของคุณเริ่มฟังดูต่างจากที่ตั้งใจไว้มากเกินไป ให้ปรับเสียงสะท้อนลงเล็กน้อย

 

สิ่งที่ควรทำ: ควบคุมระดับเสียงต่างๆ ให้สมดุลกัน

กลวิธีการบีบอัดและการปรับ EQ ใดๆ ในโลกนี้ก็ไม่อาจช่วยคุณได้ หากระดับเสียงแต่ละย่านในแทร็กของคุณนั้นกระจัดกระจายไม่มีทิศทาง เอฟเฟกต์ Normalize ใน Adobe Audition อาจเป็นประโยชน์อย่างมากในเรื่องนี้ เอฟเฟกต์นี้จะใส่ Gain กับแอมพลิจูดของแทร็กเพื่อให้ทุกอย่างอยู่ในระดับคงที่และสม่ำเสมอ ซึ่งช่วยลดปริมาณเสียงสูงและต่ำที่จะเกิดขึ้นในมิกซ์เสียงขั้นสุดท้ายของคุณ

ภาพหน้าจอซอฟต์แวร์มิกซ์เสียงกำลังแสดงคลื่นเสียงหลายความถี่

สิ่งที่ไม่ควรทำ: ใช้เสียงทุ้มและเสียงแหลมมากเกินไป

เสียงทุ้มและเสียงแหลมเกินกว่าปกติในแทร็กใดๆ เป็นข้อผิดพลาดที่พบได้บ่อย ควรรักษาเสียงทุ้มและเสียงแหลมให้เป็นปกติแทนที่จะเพิ่มหรือลดอย่างพิสดาร ซึ่งจะช่วยทำให้แทร็กเหมาะกับสภาพแวดล้อมในการเล่นที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหูฟัง เครื่องเสียงในรถยนต์ หรือเครื่องเสียงภายในบ้าน และอย่าลืมว่าผู้ฟังเองก็สามารถปรับระดับเสียงได้เสมอเช่นกัน

ภาพหน้าจอของคลื่นเสียงอินพุตสเตอริโอในโปรแกรมมิกซ์เสียง

ถึงเวลาลงมือมิกซ์เพลง

ไม่ว่าคุณจะเป็นวิศวกรเสียงมือใหม่หรือมือโปร Audition มีเครื่องมือทั้งหมดที่จำเป็นในการสร้างมิกซ์เพลงเพราะๆ อย่างมืออาชีพ หากคุณต้องการพัฒนาทักษะพื้นฐานเพิ่มเติมที่จะช่วยให้คุณเข้าใจการมิกซ์เสียงมากขึ้น ให้เริ่มต้นด้วยการเรียนรู้วิธีบันทึกและแก้ไขเพลงก่อนเริ่มฝึกมิกซ์เพลง และแม้กระทั่งวิธีรีมิกซ์เพลงให้เข้ากับวิดีโอก็ช่วยได้เช่นกัน

ผู้มีส่วนร่วม

ทำสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้นด้วย Adobe Audition

เวิร์กสเตชันระดับมืออาชีพของคุณสำหรับการบันทึกและมิกซ์เสียง การสร้างพอดแคสต์ และการออกแบบเอฟเฟกต์เสียง

และคุณอาจสนใจ...

ไมค์บูมในสตูดิโอพอดแคสต์

พื้นฐานการทำพอดแคสต์

เรียนรู้หลักพื้นฐานเพื่อช่วยให้คุณเริ่มต้นใช้สื่อทางเสียงยอดนิยมนี้

เส้นคลื่นสีม่วงและชมพูนีออน

ค้นหา DAW ตอบโจทย์ความต้องการด้านเสียงของคุณที่สุด

เรียนรู้วิธีเลือกแพลตฟอร์มมิกซ์เพลงหรือพอดแคสต์ตามต้องการ

ภาพถ่ายองค์ประกอบโฮมสตูดิโอ

การจัดโฮมสตูดิโอ

สำรวจพื้นฐานการสร้างพื้นที่ภายในบ้านเพื่อบันทึกเสียงคุณภาพสูง

การมิกซ์เพลงในสตูดิโอบันทึกเสียง

ประเภทรูปแบบไฟล์เสียงที่ดีที่สุด

Lossy หรือ Lossless บีบอัดหรือไม่ ค้นหารูปแบบไฟล์เสียงที่เหมาะกับความต้องการของคุณ

รับ Adobe Audition

สร้าง มิกซ์ และออกแบบเอฟเฟกต์เสียงด้วยซอฟต์แวร์การแก้ไขเสียงดิจิทัลที่ดีที่สุดในวงการ

ใช้งานฟรี 7 วัน หลังจากนั้น ฿876.33/เดือน** (รวม VAT)