Dynamic Range คืออะไร
Dynamic Range คืออัตราส่วนระหว่างส่วนที่สว่างที่สุดและส่วนที่มืดที่สุดในรูปภาพ จากสีดำสนิทไปจนถึงสีขาวเจิดจ้า กล้องดิจิทัลที่ดีที่สุดสามารถจับภาพระยะอัตราส่วนนี้ได้เพียงครึ่งหนึ่งจากที่ดวงตามนุษย์มองเห็นเท่านั้น
ปัญหาในภาพที่มี Contrast สูง
รูปภาพที่มี Contrast สูงเป็นภาพที่มีทั้งเงาชัดและไฮไลต์ที่สว่างจ้า ช่วง Dynamic Range ของภาพเช่นนี้อาจอยู่เหนือความสามารถของกล้องในการจับภาพ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมภาพถ่ายของบุคคลที่ยืนอยู่ด้านหน้าหน้าต่างที่มีแสงจ้าจึงไม่สามารถแสดงรายละเอียดบนใบหน้าบุคคลนั้นหรือบรรยากาศนอกหน้าต่างได้ คุณจะถ่ายภาพได้เพียงสองแบบเท่านั้น คือ ภาพที่ถ่ายรายละเอียดบนใบหน้าได้แต่แสงที่หน้าต่างสว่างจนเบลอ หรือภาพที่ถ่ายบรรยากาศข้างนอกได้แต่รายละเอียดบนใบหน้าหายไปจนหมด ในกรณีเช่นนี้ ช่วง Dynamic Range ของภาพนั้นสูงกว่ากล้อง จึงทำให้คุณต้องเลือกว่าจะโฟกัสตัวแบบในส่วนมืดหรือหน้าต่างที่แสงส่องถึง
สำรวจ Dynamic Range ของกล้องคุณ
การหาสมดุลที่เหมาะสมระหว่างความสว่างและความมืดจะช่วยให้ภาพออกมาดูดียิ่งขึ้น ดังนั้นคุณจึงควรทดสอบขีดจำกัดกล้องของคุณ ลองถ่ายส่วนไฮไลต์และรายละเอียดเงาในสภาพแสงแบบต่างๆ ใช้ Histogram แสงสว่าง ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถดู LCD ในกล้องของคุณเพื่อช่วยถ่ายภาพได้ เครื่องมือนี้จะแสดงพิกเซลที่คุณถ่ายในรูปแบบกราฟในแต่ละดับความเข้ม หากกราฟพุ่งขึ้นสูงด้านซ้ายหรือด้านขวาแล้วลดลงเป็นหลุมตรงกลาง แปลว่าภาพของคุณอยู่ในระดับที่เกิน Dynamic Range ของกล้อง
ใช้ฟิลเตอร์ Neutral Density เพื่อลดความเข้มของแสง
ฟิลเตอร์ Neutral Density (ฟิลเตอร์ ND) มักจะทำขึ้นมาจากแก้วกระจก ซึ่งสามารถติดเข้ากับเลนส์กล้องของคุณและลดปริมาณแสงที่ผ่านเข้าสู่กล้องได้ เมื่อมีแสงน้อยลง คุณสามารถปรับความเร็วชัตเตอร์เพื่อขยายระยะเวลาการเปิดรับแสง หรือเพิ่มค่าเซนเซอร์ภาพของกล้อง หรือขยายรูรับแสงเพื่อให้เสี่ยงน้อยลงต่อการเกิดแสงสว่างจ้าจนภาพขาวโพลน ติดฟิลเตอร์ Neutral Density กับเลนส์ของคุณ แล้วท้องฟ้าที่สว่างเกินไปจะมีรายละเอียดต่างๆ เพิ่มขึ้นมาในทันที แต่ส่วนที่เป็นเงาจะไม่กลายเป็นสีดำสนิท นอกจากจะช่วยให้ถ่ายภาพก้อนเมฆได้คมชัดยิ่งขึ้นแล้ว ฟิลเตอร์ Neutral Density ยังสามารถช่วยให้คุณจับภาพ Motion Blur และระยะชัดลึกตื้นๆ ในแสงจ้าได้อีกด้วย
ขยาย Neutral Density ของกล้องด้วยการถ่ายภาพ High Dynamic Range
การถ่ายภาพ HDR เป็นการถ่ายภาพ Multiple Exposure ของภาพเดิมหลายๆ ครั้งไปพร้อมกับการปรับ F-Stop บนกล้องของคุณ (ค่า F-Stop จะควบคุมปริมาณแสงที่ผ่านเลนส์เข้ามา) คุณควรใช้ขาตั้งกล้องเพื่อให้องค์ประกอบของภาพเหมือนกันในทุกๆ ช็อต ถ่ายภาพด้วยค่า F-Stop ปกติ จากนั้นถ่ายภาพโดยเปิดรับแสงน้อยๆ ไปทีละภาพโดยการปรับค่า Stop เพิ่มอย่างน้อยหนึ่งระดับต่อไปเรื่อยๆ
เรียนรู้ว่าต้องปรับค่า F-Stop ให้ต่างกันมากน้อยเพียงใด ต้องเปิดรับแสงเท่าไหร่ และวิธีรวมภาพเข้าด้วยกันเป็นภาพ HDR
รวมภาพ Multiple Exposure ด้วยบทช่วยสอนทีละขั้นตอนนี้
ดูวิธีใช้เครื่องมือ HDR ใน Adobe Photoshop Lightroom เพื่อรวมภาพ Multiple Exposure เข้าด้วยกัน
ลองใช้เทคนิค Focus Stacking ใน Adobe Photoshop
สำรวจว่าการถ่ายภาพ Multiple Exposure ช่วยให้คุณสามารถสลับโฟกัสจากจุดหนึ่งไปยังวัตถุอื่น เพื่อถ่ายภาพทุกองค์ประกอบในภาพให้คมชัดได้อย่างไร
Dynamic Range สำคัญไม่แพ้กันในการถ่ายภาพวิดีโอ
การถ่ายวิดีโอที่มี Contrast สูงอาจยากกว่าการถ่ายภาพนิ่งซะอีก ไม่ว่าคุณจะถ่ายภาพในสถานที่ใด ลองสังเกตดีๆ ว่าแสงเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเมื่อตัวแบบและ/หรือกล้องของคุณขยับ “อย่าคิดไปว่าสิ่งที่คุณเห็นบนหน้าจอ LCD คือภาพที่คุณจะถ่ายได้” ช่างภาพสารคดี Dominic Duchesneau อธิบาย “ทำความเข้าใจว่าแสงส่งผลต่อภาพของคุณอย่างไรและคุณกำลังพยายามเปิดรับแสงโดยมีวัตถุประสงค์แบบไหน”
องค์ประกอบภาพของฉากก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการถ่ายภาพ High Dynamic Range หากต้องการดึงดูดผู้ชมเข้าไปในเรื่องราว คุณย่อมต้องการสร้างภาพหลายๆ เลเยอร์ให้สายตาได้มองไปเรื่อยๆ ซึ่งอาจต้องใช้การสลับตำแหน่งโฟกัสและการปรับค่าเพื่อรับมือกับความเข้มของแสงที่เปลี่ยนไป ผู้กำกับและนักเขียนอย่าง Van Jensen กล่าวว่า “การทำแบบนี้เป็นการสร้างสรรค์ภาพเดี่ยวๆ ที่มีความงดงามและความลึกภายในภาพแต่ละภาพ ความลึกนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างโลกใบหนึ่งให้ดูยิ่งใหญ่และสมจริง”
ถ่ายภาพในรูปแบบไฟล์รอว์
พิกเซลในเซนเซอร์ภาพของกล้องสมัยใหม่สามารถจับภาพระยะแสงได้กว้างไกล แต่หากคุณถ่ายภาพในรูปแบบไฟล์อย่าง .wmv หรือ .avi ที่จะส่งผลให้ไฟล์ถูกบีบอัด คุณอาจสูญเสีย Dynamic Range ในภาพไปอย่างมาก “ถ้าคุณถ่ายภาพในรูปแบบไฟล์รอว์ ไฟล์ภาพของคุณจะมีข้อมูลมากมาย” Duchesneau อธิบาย “และเมื่อคุณดึงไฟล์ลงคอมพิวเตอร์ คุณก็จะสามารถปรับให้หลายๆ ส่วนในภาพกลายเป็นภาพที่คุณมองเห็นด้วยตาเปล่าได้”
ขั้นตอนหลังการถ่ายทำเป็นเพื่อนที่ช่วยคุณได้
มีเครื่องมืออย่างมากมายที่จะช่วยให้คุณสร้างสรรค์ภาพตามที่ใจหวังได้หลังจากที่คุณถ่ายทำจนเสร็จสิ้น ในการปรับ Dynamic Range ของวิดีโอในขั้นตอนหลังการถ่ายทำ คุณสามารถเรียนรู้วิธีแก้ไขสีและสร้างสมดุลสีด้วยตัวเองได้ผ่านบทช่วยสอนและการทดลองทำเอง
ดูวิธีสร้างพื้นที่ทำงานเกี่ยวกับสี จากนั้นเรียนรู้วิธีแก้ไขสี ใช้รูปลักษณ์ในแบบที่แตกต่างกันไป และใช้เครื่องมือ Curve เพื่อปรับสีและความสว่าง
ดูวิธีปรับ Contrast และความสว่างให้ดูดียิ่งขึ้นในภาพนิ่ง
รับชมวิดีโอนี้เพื่อเรียนรู้วิธีใช้ Levels ใน Photoshop
เรียนรู้วิธีปรับให้วิดีโอของคุณดูเหมือนภาพฟิล์ม
ค้นพบแผงควบคุม Lumetri Color และ Scopes แล้วดูว่าเครื่องมือเหล่านี้สามารถช่วยให้คุณปรับฟุตเทจของคุณได้อย่างไร
อย่าลืมว่าภาพที่งดงามมักจะเริ่มต้นจากการมีแสงที่เหมาะสม “ทุกอย่างเริ่มจากจุดเริ่มต้น” Jensen อธิบาย “นักแก้ไขสีสามารถช่วยปรับส่วนแย่ๆ ในฟุตเทจได้ แต่การทำงานจะง่ายยิ่งขึ้นกว่าเดิมมากถ้าคุณถ่ายฟุตเทจดีๆ เพื่อให้นักแก้ไขสีปรับแต่งให้ภาพดูงดงามยิ่งขึ้นแทน”
คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าแสงตอนไหนเหมาะสมและกล้องจับภาพระยะ Dynamic Range ที่คุณต้องการแล้ว ฝึกฝน ทดลอง และเรียนรู้ต่อไปจากข้อผิดพลาดของคุณเพื่อพัฒนาทักษะของคุณให้ดียิ่งขึ้น
ผู้มีส่วนร่วม
ทำสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้นด้วย Adobe After Effects
สร้างกราฟิกเคลื่อนไหว ภาพเคลื่อนไหวข้อความ และเอฟเฟกต์ภาพอันน่าทึ่ง
และคุณอาจสนใจ...
ดูว่าเทคนิคนี้จะสามารถช่วยนำเอฟเฟกต์ที่มีสไตล์และชวนให้นึกถึงความหลังมาใช้ในผลงานของคุณได้อย่างไร
ทำความเข้าใจระยะชัดลึกที่ตื้น
สำรวจวิธีที่ระยะชัดลึกที่ตื้นสามารถเพิ่มมิติให้ภาพถ่ายของคุณ
ค้นพบวิธีเลือกความยาวโฟกัสที่เหมาะสมสำหรับภาพถ่ายแต่ละภาพ
Establishing Shot มีความสำคัญมากเพราะจะช่วยบอกเราถึงสถานที่และมักบอกเวลาที่เกิดเหตุการณ์
รับ Adobe After Effects
สร้างวิชวลเอฟเฟกต์ภาพยนตร์และกราฟิกภาพเคลื่อนไหว
ใช้งานฟรี 7 วัน หลังจากนั้น ฿876.33/เดือน (รวม VAT)