ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเร็วชัตเตอร์ทั้งช้าและเร็ว
เรียนรู้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับหลักการในการถ่ายภาพประเภทนี้ แล้วดูว่าเทคนิคนี้ช่วยเปิดโอกาสในการสร้างสรรค์ได้อย่างไร
การถ่ายภาพเป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะและวิทยาศาสตร์ แม้จะเป็นข้อเท็จจริงที่อาจทำให้รู้สึกว่าการถ่ายภาพเป็นสิ่งที่ท้าทายกว่าเดิมสองเท่า แต่เมื่อคุณเข้าใจข้อมูลพื้นฐานทั้งสองประการนี้ แง่มุมทั้งสองสามารถผสานเข้าด้วยกันแล้วเปิดโอกาสให้คุณสามารถถ่ายทอดวิสัยทัศน์เชิงสร้างสรรค์ได้อย่างไร้ขีดจำกัด ความเร็วชัตเตอร์ถือเป็นตัวอย่างที่ดี ซึ่งเป็นหัวข้อทางเทคนิค แต่หากคุณทราบวิธีพลิกแพลงความเร็วชัตเตอร์ คุณจะสามารถถ่ายภาพได้ทุกประเภท ตั้งแต่ภาพถ่ายกีฬาที่คมชัดเหมือนหยุดเวลาเอาไว้ ไปจนถึงภาพถ่ายน้ำตกที่ดูนุ่มนวลและเต็มไปด้วยการเคลื่อนไหว
ความเร็วชัตเตอร์คืออะไร
ความเร็วชัตเตอร์มีความหมายตามชื่อ ซึ่งเป็นความเร็วในการปิดชัตเตอร์ของกล้อง ความเร็วชัตเตอร์เร็วๆ จะเปิดรับแสงเป็นระยะเวลาที่สั้นกว่า ซึ่งเป็นการกำหนดปริมาณแสงที่ผ่านเข้าสู่กล้อง และความเร็วชัตเตอร์ชัตเตอร์ที่ช้านั้นจะช่วยให้ช่างภาพถ่ายภาพโดยเปิดรับแสงเป็นระยะเวลานานยิ่งขึ้น
“ความเร็วชัตเตอร์ช่วยให้คุณถ่ายภาพได้สองแบบ แบบแรกคือช่วยให้คุณหยุดเวลาไว้” นักเขียนและช่างภาพ Jeff Carlson อธิบาย “ถ้าคุณถ่ายภาพโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์แบบเร็วๆ ชัตเตอร์จะเปิดและปิดอย่างรวดเร็วและถ่ายภาพส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ที่ดำเนินอยู่”
“แต่ก็จะมีกรณีที่คุณอยากถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ช้าๆ แต่เปิดรูรับแสงค้างไว้เพื่อปล่อยให้แสงผ่านเข้ามามากขึ้น” Carlson อธิบาย “คุณสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ช้าๆ ในสภาพแวดล้อมที่มืดสลัวได้ในกรณีที่คุณต้องการแสงเพิ่มเพื่อถ่ายภาพอย่างเหมาะสม”
ความท้าทายที่มาพร้อมกับการปรับความเร็วชัตเตอร์
พิจารณาเกี่ยวกับแสงและการเคลื่อนไหวเมื่อคุณปรับความเร็วชัตเตอร์ หากคุณเปิดชัตเตอร์ค้างไว้นานกว่าปกติเพื่อเปิดรับแสงมากขึ้น การเคลื่อนไหวจะส่งผลต่อภาพในแบบที่อาจไม่ถูกใจคุณ
“ปัญหาคือ เมื่อเปิดชัตเตอร์ค้างไว้นานกว่าเดิม ทุกอย่างที่เคลื่อนไหวภายในเฟรมระหว่างช่วงเวลานั้นจะมีความเบลอมากขึ้น”
“ปัญหาคือ เมื่อเปิดชัตเตอร์ค้างไว้นานกว่าเดิม ทุกอย่างที่เคลื่อนไหวภายในเฟรมระหว่างช่วงเวลานั้นจะมีความเบลอมากขึ้น” Ben Long ซึ่งเป็นช่างภาพ นักเขียน และอาจารย์อธิบายเกี่ยวกับการสั่นของกล้อง “ปัญหาอีกอย่างคือ เมื่อชัตเตอร์ของกล้องเปิดไว้เป็นเวลานานแล้วคุณขยับกล้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหนือการควบคุมเพราะเป็นเรื่องปกติของมนุษย์”
ความเร็วชัตเตอร์ช้าๆ สามารถช่วยเพิ่มแสงสว่างในฉากมืดๆ ได้เนื่องจากมีการปล่อยแสงผ่านเลนส์มากขึ้น แต่เมื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วขึ้น เลนส์จะเปิดเป็นระยะเวลาสั้นๆ ดังนั้นจึงมีแสงผ่านเข้าสู่เลนส์น้อยกว่า การถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อยจึงเป็นเรื่องที่ท้าทาย และสถานที่ถ่ายภาพที่มีแสงส่องทั่วถึงจึงเป็นเรื่องสำคัญ คุณควรระวังปัญหานี้เมื่อคุณถ่ายภาพ ไม่เช่นนั้นแล้วคุณอาจถ่ายภาพมืดๆ ออกมาและพลาดสิ่งที่ต้องการถ่ายไปโดยสิ้นเชิง
การตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์อย่างเหมาะสมถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งเพื่อให้สามารถจับภาพช่วงเวลาไว้ได้อย่างไม่พลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ตัวแบบมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว
“เมื่อไม่กี่เดือนก่อน ฉันกำลังถ่ายภาพเสือชีตาห์ที่กำลังล่าเหยื่อ” ช่างถ่ายภาพสัตว์และนักเขียนหนังสือขายดีของ New York Times อย่าง Carli Davidson เล่า “คุณจะขอให้สัตว์ทำอะไรแบบเดิมซ้ำอีกครั้งไม่ได้ คุณจะไม่สามารถขอให้สัตว์ขยับตัวช้าลงแล้วทำแบบเดิมอีกครั้งเพราะคุณปรับความเร็วชัตเตอร์ให้เร็วไม่พอ ภาพเลยออกมาเบลอไปหมด”
การทดลองถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่างๆ ล่วงหน้าก่อนถ่ายภาพจริงจะช่วยให้คุณทราบการตั้งค่าที่เหมาะสมและช่วงเวลาที่ต้องใช้การตั้งค่าดังกล่าวอย่างเชี่ยวชาญ
ความเร็วชัตเตอร์ในระดับต่างๆ จับภาพการเคลื่อนไหวอย่างไร
แผนภูมิความเร็วชัตเตอร์นี้แสดงให้เห็นภาพการเคลื่อนไหวที่ถ่ายโดยความเร็วชัตเตอร์ในระดับต่างๆ
หยุดเวลาด้วยความเร็วชัตเตอร์สูง
เมื่อคุณไม่ต้องการให้ภาพมี Motion Blur ซึ่งเป็นเอฟเฟกต์ที่เกิดจากการที่ตัวแบบหรือกล้องขยับระหว่างการถ่ายภาพโดยเปิดรับแสง/ใช้ความเร็วชัตเตอร์เป็นเวลานาน คุณจะสามารถหยุดเวลาไว้ได้ด้วยความเร็วชัตเตอร์สูง
“เด็กวัยสองขวบขึ้นชื่อว่าไม่เคยอยู่นิ่งๆ” Carlson อธิบาย “คุณสามารถตั้งค่ากล้องโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้น เพื่อให้ภาพไม่ออกมาเบลอเมื่อคุณถ่ายภาพ”
แต่นอกเหนือการป้องกันไม่ให้เกิด Motion Blur แล้ว ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ ยังจะช่วยให้ช่างภาพสามารถเก็บช่วงเวลาหนึ่งๆ ไว้ในแคปซูลเวลาราวกับมีเวทมนตร์
“ย้อนกลับไปที่เหตุผลในการถ่ายภาพของคุณ” ช่างภาพและนักออกแบบ Shawn Ingersoll อธิบาย “คุณอยากถ่ายภาพการเคลื่อนไหวเอาไว้ หรืออยากถ่ายภาพช่วงเวลาเสี้ยววินาทีที่มีบางสิ่งเคลื่อนไหวแต่ภาพดูไม่ใช่เช่นนั้นหรือเปล่า ยกตัวอย่างเช่น ก้อนหินหล่นลงสู่สระน้ำ แล้วชั่ววินาทีหนึ่ง คุณเห็นว่าน้ำกระเซ็นขึ้นในอากาศ”
น้ำซึ่งเป็นองค์ประกอบที่อาจอยู่นิ่งๆ ได้ดั่งหยดน้ำค้าง หรือเคลื่อนไหวรุนแรงแบบสึนามิ แสดงให้เห็นว่าความเร็วชัตเตอร์สามารถเล่าเรื่องราวที่ต่างกันไปสองแบบได้อย่างไร
“ถ้าคุณต้องการถ่ายภาพท้องทะเลในช่วงเวลาพลบค่ำ คุณอาจต้องการใช้การเปิดรับแสงยาวๆ ที่ 30 วินาที” Carlson แนะนำ “ซึ่งจะเปิดให้แสงผ่านเข้าสู่กล้องมากขึ้นเพื่อให้ภาพไม่มืดไปจนหมด รวมถึงทำให้คลื่นทั้งหมดดูนุ่มนวลและช่วยให้คุณถ่ายภาพผืนน้ำออกมากลมกลืนเหมือนเป็นกระจกแผ่นเดียวกัน”
อย่างไรก็ตาม ท้องทะเลผืนเดียวกันนั้นที่ถ่ายภาพโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ อาจแสดงฟองหรือริ้วคลื่นสีขาวในทะเลที่มีคลื่นรุนแรง ตัวเลือกต่างๆ เหล่านี้ช่วยให้ช่างภาพสามารถเลือกสร้างสรรค์ผลงานได้โดยปรับการตั้งค่าทางเทคนิค
เพิ่มการเคลื่อนไหวในภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ช้าๆ
“ฉันเคยถ่ายภาพการแข่งบาสเกตบอลในโรงยืมมืดๆ” ช่างภาพวารสารศาสตร์และช่างภาพงานแต่งงาน Anna Goellner เล่า “เพื่อถ่ายภาพได้แสงที่เหมาะสม บางครั้งฉันจะปรับความเร็วชัตเตอร์ลงเหลือ 1/50 แต่แบบนั้นฉันจะเห็นการเคลื่อนไหวที่ไม่ต้องการในภาพ ในการถ่ายภาพกีฬา คุณต้องถ่ายภาพออกมาให้คมชัด”
เมื่อคุณมีเป้าหมายในการถ่ายภาพให้มีโฟกัสที่คมชัด เช่น อาจเป็นการถ่ายภาพใบหน้าของนักกีฬาขณะที่โยนลูกที่ตัดสินเกม คุณควรใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ เพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของวัตถุเอาไว้ ซึ่งจะเป็นการเล่าเรื่องราวโดยหยุดช่วงเวลาขณะนั้นไว้ชั่วคราว แต่ภาพถ่ายที่หยุดเวลาเอาไว้และตัดการเคลื่อนไหวออกไปอาจจำกัดโอกาสในการเล่าเรื่องบางประเภทได้
“เมื่อทีมบาสเกตบอลอยู่ห่างออกไปไกลๆ หรือฉันถ่ายภาพตามที่ต้องการได้ทั้งหมดแล้ว ฉันจะพลิกแพลงการเคลื่อนไหวเพื่อถ่ายภาพ” Goellner เล่าต่อ “การจับภาพตามตัวนักฟุตบอลในสนามขณะที่เขากำลังวิ่ง แล้วถ่ายภาพช่วงเวลานั้นไว้ ฉันคิดว่าการถ่ายภาพแบบนั้นออกมาในเชิงศิลปะเป็นเรื่องสนุกมาก คุณสามารถถ่ายภาพการเคลื่อนไหวในกีฬาโดยพลิกแพลงความเร็วชัตเตอร์ได้”
การเล่าเรื่องหรือการจับภาพการเคลื่อนไหวที่กินเวลามากกว่าชั่วขณะหนึ่งๆ ถือเป็นเรื่องที่เป็นไปได้เมื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์ช้าๆ บางครั้งอาจถือว่าเป็นปัจจัยที่จำเป็นเลยด้วยซ้ำ
“ถ้าผมออกไปถ่ายภาพที่สนามแข่งและมีรถแข่ง Formula One เคลื่อตัวไปด้วยความเร็ว 200 ไมล์ต่อชั่วโมง” Long เล่า “แล้วผมถ่ายภาพที่ 1/8000 ต่อวินาทีเพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของรถเอาไว้อย่างสมบูรณ์ ภาพที่ถ่ายออกมาได้จะเป็นภาพของรถที่ดูเหมือนจอดอยู่นิ่งๆ ภาพจะดูไม่สมจริงเลยสักนิด จะดูไม่ออกเลยว่ารถในภาพมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว
“แต่ถ้าผมใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลงแทนและกำหนดเวลาให้กล้องตามรถคันนั้นไปขณะที่รถเคลื่อนผ่านเฟรม” Long เล่าต่อ “รถจะออกมาดูเบลอเล็กน้อย แต่พื้นหลังจะเลือนหายไปเลย ซึ่งจะเป็นภาพที่ดูเหมือนว่ามีรถเคลื่อนผ่านไปในความเร็ว 200 ไมล์ต่อชั่วโมง อะไรแบบนั้นเป็นตัวเลือกเชิงสร้างสรรค์ที่ผมเลือกได้ในขณะที่ถ่ายภาพ เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกที่สมจริงยิ่งขึ้นในเหตุการณ์นั้นๆ”
คุณควรเลือกความเร็วชัตเตอร์อย่างไร
ถามตัวเองว่าคุณต้องการถ่ายภาพประเภทไหน การตัดสินใจเลือกความเร็วชัตเตอร์เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยการพิจารณาเป้าหมายสุดท้ายในการถ่ายภาพของคุณ
“ถ้าคุณถ่ายภาพน้ำตกด้วยความเร็วชัตเตอร์ปกติ น้ำจะหยุดนิ่งและคุณจะถ่ายภาพพื้นผิวของน้ำได้ทั้งหมด” Carlson อธิบาย “แต่คุณคงเคยเห็นภาพน้ำตกที่สายน้ำดูนุ่มนวลเหมือนผืนผ้าไหมมาบ้าง เอฟเฟกต์แบบนั้นน่าสนใจและสามารถทำได้ง่ายๆ คุณเพียงต้องต้องคงกล้องไว้ให้นิ่งไม่ขยับ และถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ยาวๆ รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ทั้งหมดของสายน้ำที่ไหลลงสู่ด้านล่างจะกลมกลืนเข้าด้วยกันและช่วยให้คุณถ่ายภาพได้ตามที่ต้องการ”
ความเร็วชัตเตอร์ช่วยให้ช่างภาพสามารถใช้การเคลื่อนไหวหรือหยุดการเคลื่อนไหว เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวหรือจับภาพบรรยากาศไว้ได้ ไม่ว่าคุณจะเลือกถ่ายภาพในเสี้ยววินาทีด้วยความเร็วชัตเตอร์สั้นๆ หรือเลือกถ่ายทอดการเคลื่อนไหวของตัวแบบด้วยความเร็วชัตเตอร์ยาวๆ การตัดสินใจของคุณเป็นการเปิดโอกาสในการเล่าเรื่องราวมากมาย การถ่ายภาพของคุณมุ่งจับภาพช่วงเวลาเอาไว้ตามจริง หรือเป็นการพยายามถ่ายทอดลักษณะที่เราสัมผัสช่วงเวลาขณะนั้น หรือเป็นการถ่ายภาพบรรยากาศในช่วงเวลาดังกล่าว แทนการถ่ายภาพรายละเอียดต่างๆ เฉยๆ การใช้ความเร็วชัตเตอร์ได้อย่างเชี่ยวชาญช่วยให้คุณมีอำนาจในการเลือกอยู่ในมือ
และแม้ว่าความรู้ทางเทคนิคจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาข้อมูลด้านนี้ให้ชำนาญ แต่การฝึกฝนจะเป็นสิ่งที่สร้างทักษะนี้ขึ้นมาในตัวช่างภาพทุกๆ คน
“คุณอาจมีความรู้เชิงวิชาการเกี่ยวกับกลไกการถ่ายภาพ” Davidson เล่า “แต่คุณจำเป็นต้องมีความรู้เชิงปฏิบัติผ่านการลองถ่ายภาพเองและการฝึกฝนอยู่ตลอดเวลาในการใช้ความรู้ทั้งสองด้านควบคู่กันไป”
ผู้มีส่วนร่วม
ทำสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้นด้วย Adobe Photoshop Lightroom
แก้ไขรูปภาพอย่างง่ายดายด้วย Preset ของ Lightroom อย่างSuper Resolution แชร์ภาพถ่ายอย่างง่ายดายจากทุกอุปกรณ์ และเข้าถึงโปรเจกต์ต่างๆ ของคุณได้ทุกที่ด้วยการจัดการพื้นที่จัดเก็บภาพถ่ายบนระบบคลาวด์
และคุณอาจสนใจ...
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเร็วชัตเตอร์
ค้นพบว่าการปรับความเร็วชัตเตอร์ช่วยให้คุณถ่ายภาพที่ชัดเจนได้หรือจับภาพช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยการเคลื่อนไหวได้อย่างไร
ค้นพบวิธีเลือกความยาวโฟกัสที่เหมาะสมสำหรับภาพถ่ายแต่ละภาพ
การถ่ายภาพกลางคืน
แสงน้อยไม่ได้ทำให้ภาพมีคุณภาพต่ำเสมอไปด้วยเคล็ดลับการถ่ายภาพกลางคืนให้ดูดีเหล่านี้
ทำความเข้าใจระยะชัดลึกที่ตื้น
สำรวจวิธีที่ระยะชัดลึกที่ตื้นสามารถเพิ่มมิติให้ภาพถ่ายของคุณ
รับ Photoshop Lightroom
แก้ไข จัดระเบียบ จัดเก็บ และแชร์ภาพถ่ายได้จากทุกที่
ใช้งานฟรี 7 วัน หลังจากนั้น ฿380.92/เดือน (รวม VAT)