HDR คืออะไร

เรียนรู้ความแตกต่างระหว่าง HDR และ SDR ในการถ่ายภาพและสร้างภาพที่เก็บได้ทั้ง Highlight ที่สว่างที่สุดและ Shadow ที่มืดที่สุด

ภาพมุมมองลงไปยังอุทยานแห่งชาติแกรนด์แคนยอน

ภาพถ่ายโดย Aaron Rashid

เข้าใจ HDR

คำว่า Dynamic Range หมายถึงอัตราส่วนระหว่างส่วนที่สว่างที่สุดและส่วนที่มืดที่สุดในรูปภาพ HDR หรือ High Dynamic Range ใช้เรียกกล้องหรือเทคนิคที่คุณสามารถใช้ในการถ่ายภาพที่มี Dynamic Range สูงกว่าที่เซ็นเซอร์กล้อง SDR (Standard Dynamic Range ซึ่งก็คือรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่ HDR) สามารถบันทึกได้ 

 

วิดีโอ HDR

คนส่วนใหญ่อาจคุ้นเคยกับ HDR ในงานวิดีโอ คอนเทนต์ครีเอเตอร์หลายต่อหลายคนพากันหันมาสร้างวิดีโอ HDR กันมากขึ้นเมื่อบรรดากล้องวิดีโอดิจิทัลรุ่นใหม่ล่าสุดจาก Sony และ Nikon รวมถึงกล้องใน iPhone 12 สามารถถ่ายภาพ HDR ได้ ในปัจจุบัน บริการสตรีมมิงอย่าง Amazon Prime Video และ Netflix รองรับวิดีโอในรูปแบบ HDR10 และ Dolby Vision HDR แต่ Netflix กำหนดให้ผู้ชมต้องสมัครใช้งานแผน UHD Premium ก่อน อีกช่องทางในการรับชมเนื้อหา HDR บนโทรทัศน์คือใช้เครื่องเล่น Blu-ray ระดับ Utra HD ที่เชื่อมต่อผ่านพอร์ต HDMI ซึ่งรองรับ HDCP 2.2 ขึ้นไป 

 

หากต้องรับชมวิดีโอที่มีอัตราส่วน Contrast เต็มรูปแบบ คุณต้องมีโทรทัศน์ระดับไฮเอนด์ 8K หรือ 4K ที่สามารถแสดงผลเนื้อหา HDR ได้ ยกตัวอย่างเช่น จอ OLED (Organic Light-Emitting Diode) และ QLED (Quantum Dot Light-Emitting Diode) หรือจอโทรทัศน์ LCD (Liquid Crystal Display) ระดับ HD ทั่วไปบางรุ่น 

 

การถ่ายภาพ HDR

ในการถ่ายภาพ HDR หมายถึงประเภทของภาพถ่ายที่บันทึก Dynamic Range ซึ่งไม่สามารถบันทึกได้ในการถ่ายเพียงครั้งเดียว 

ภาพทะเลทรายที่เต็มไปด้วยเนินหินแบ่งเป็นสามภาพที่มี Exposure ต่างระดับกันเพื่อสร้างเป็นภาพถ่าย HDR

"ก่อนที่จะกลายเป็นเครื่องมือหนึ่งภายในตัวกล้อง HDR คือกลวิธีที่ช่างกล้องใช้ชดเชยข้อจำกัดของกล้องด้วยเทคนิคที่เรียกว่า Bracketing" ช่างภาพ Chelsea Ruggiero อธิบาย "ในการทำ Bracketing คุณจะถ่ายภาพหนึ่งที่มี Exposure ต่ำมาก, อีกภาพหนึ่งที่มี Exposure กลางๆ และอีกภาพหนึ่งที่มี Exposure สูงมาก จากนั้นจึงนำทั้งสามภาพมาซ้อนกันในขั้นตอนหลังการถ่ายและผสานกันเป็นภาพเดียวที่ลงตัว"

 

ทำไมต้องทำภาพ HDR

เมื่อต้องการถ่ายภาพที่เกินความสามารถของตัวกล้อง ช่างภาพจะใช้กระบวนการทำภาพ HDR เพื่อเก็บ Dynamic Range ของภาพให้ได้อย่างครบถ้วน เมื่อนำภาพที่ Exposure แตกต่างกันมารวมกัน คุณจะสามารถใช้ประโยชน์จากทุกพิกเซลได้เต็มที่เพื่อให้ภาพใกล้เคียงกับที่เห็นผ่านดวงตามนุษย์มากขึ้น "ผมใช้ HDR ถ่ายช่วงพระอาทิตย์ตก ช่วง Blue Hour และตอนถ่ายภาพภูมิทัศน์ ภาพที่ถ่ายตอนกลางคืนส่วนใหญ่ของผมก็เป็นภาพ HDR" ช่างภาพ Aaron Rashid กล่าว

 

ลองถ่ายด้วย Auto HDR

กล้อง DSLR และ Smartphone หลายรุ่นมาพร้อมกับโหมด HDR ในตัว คุณจึงไม่ต้องถ่ายภาพหลายๆ ภาพไปรวมกันในขั้นตอนการปรับแต่งอีก โหมด Auto HDR เหมาะสำหรับมือใหม่ที่ต้องการสัมผัสลักษณะและอารมณ์ของภาพ HDR แต่หากต้องการควบคุมงานสร้างสรรค์ให้ได้มากที่สุดและคุณภาพที่ดีที่สุด ก็ควรใช้วิธีถ่ายชุด (Bracket) ภาพ RAW ในโหมด Manual มารวมเข้าด้วยกันด้วยซอฟต์แวร์ตัดต่อ

ภาพสองภาพอยู่เคียงกัน ภาพหนึ่งเป็นทิวทัศน์เมืองยามค่ำคืน ส่วนอีกภาพเป็นภาพทางหลวงเข้าเมือง

ภาพถ่ายโดย Aaron Rashid

สร้างภาพถ่าย HDR ของคุณเอง

"ฟังก์ชัน High Dynamic Range ใช้ดีก็จริง แต่ผมว่าของแบบนี้ควรปรับเองดีกว่า" Ruggiero กล่าว "สไตล์ Bracketing จะช่วยให้ควบคุมภาพได้เยอะกว่า"

 

หากต้องการถ่ายภาพ HDR ของตัวเองด้วยกล้อง DSLR, iPhone หรือ Android ถ่ายภาพสามภาพที่ Exposure คนละระดับกัน โดยถ่ายในรูปแบบ RAW เพื่อบันทึกข้อมูลอย่างเต็มที่ให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด และอย่าลืมใช้ขาตั้งกล้อง "เมื่อนำภาพมาซ้อนกันทีหลัง ภาพจะต้องอยู่ในแนวเดียวกันเป๊ะ เพราะฉะนั้นให้ถ่ายภาพที่สองและสามตรงตำแหน่งเดียวกับภาพแรกเสมอ" Rashid แนะนำ 

ช่างภาพตั้งกล้องบนขาตั้งข้างทะเลสาบ

1. ถ่ายภาพ

เริ่มจากช็อตยืนพื้นที่ถ่ายช่วงกลางระหว่างพื้นที่สว่างและพื้นที่มืด จากนั้นปรับ Exposure และความเร็วชัตเตอร์เพื่อเก็บภาพส่วนที่สว่างที่สุดในฉากนั้น (เพื่อให้ส่วนที่มืดปรากฏเป็น Silhouette) จากนั้นถ่ายภาพโดยตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้เหมาะสำหรับส่วนที่มืดที่สุด (จนส่วนที่สว่างหลุด Highlight) คุณจะได้ทั้งภาพที่มี Exposure เหมาะสม มากเกินไป และน้อยเกินไป

 

2. รวมภาพที่ถ่ายมา

หากต้องการรวมภาพถ่ายใน Adobe Photoshop Lightroom ก่อนอื่นให้นำเข้าภาพของคุณ จากนั้นจึงเลือกภาพที่ต้องการนำมาซ้อนกัน แล้วเลือก Photo › Photo Merge › HDR หรือกด Command + H บน Mac หรือ Control + H บน PC คุณสามารถกาที่ Auto Tone เพื่อเริ่มต้นทำงานจากภาพที่เกลี่ยโทนให้เสมอกันแล้วได้ หากคุณเลือก Auto Align โปรแกรม Lightroom จะแก้ไขความเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ของตำแหน่งกล้องในแต่ละภาพให้โดยอัตโนมัติ 

ชายฝั่งตอนพระอาทิตย์ขึ้น

3. Deghost หากจำเป็น

หลังจากที่รวมภาพแล้ว บางส่วนของภาพอาจดูโปร่งแสงเล็กน้อย เป็นความผิดปกติที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการ Deghost ในเมนู HDR Merge ของ Lightroom เริ่มจากค่า Low และหากไม่ได้ผลจึงใช้การตั้งค่าในระดับที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ไม่ควรใช้ Deghost หากภาพในตัวอย่างไม่ปรากฏสิ่งแปลกปลอมดังกล่าว "ถ้าผมถ่ายภาพท้องถนน ผมจะตั้ง Deghost ไว้ที่ High เพื่อให้เห็นไฟหน้ารถทั้งหมด" Rashid กล่าว "แต่ถ้าถ่ายอย่างอื่น ผมจะไม่ค่อยเปิดใช้เท่าไร"

 

อย่าแต่งภาพจนเกินพอดี

HDR ได้ผลดีที่สุดเมื่อไม่โจ่งแจ้งนัก ภาพที่แต่งมากเกินไปจะดูไม่สมจริงและมีสีจัดเกินไป ดังนั้นคุณจึงควรปรับแต่งอย่างเบามือ ระวังรัศมีแสงหรือสัญญาณอื่นๆ ที่บ่งบอกว่าภาพถูกปรับแต่งจนเกินพอดี และลด Contrast หรือ Clarity ตามสมควร หลีกเลี่ยงการถ่ายฉากที่มีวัตถุเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว เช่น ผู้คนหรือรถรา

 

สร้างชุดภาพถ่าย HDR บนมือถือ

"หากคุณถ่ายภาพใน Lightroom mobile คุณสามารถใช้ Photo Merge เพื่อรวมหลายภาพที่มี Exposure ต่างกันเข้าด้วยกัน ไฟล์ภาพจะอยู่ในสกุล DNG และได้รับการปรับแต่งในแอปเพื่อสร้างภาพ HDR ภาพเดียว (อย่าลืมว่า Smartphone บางเครื่องอาจไม่สามารถประมวลผลไฟล์ DNG ได้)

ภาพสองภาพอยู่เคียงกัน ภาพหนึ่งเป็นแม่น้ำไหลลงจากภูเขาที่มีหิมะปกคลุมอยู่บนยอด ส่วนอีกภาพเป็นภาพทิวทัศน์เมืองที่มองผ่านช่องเปิดระหว่างกิ่งไม้

ภาพถ่ายโดย Aaron Rashid

การฝึกฝนเท่านั้น

เมื่อคุณลองใช้ HDR หรือเทคนิคการถ่ายภาพอื่นๆ คุณต้องไม่หยุดลองผิดลองถูก "การถ่ายภาพคือวิธีสร้างสิ่งใหม่ๆ คือการแสดงให้โลกเห็นว่าคุณมองสิ่งต่างๆ อย่างไร เพราะงั้นไม่ต้องกลัวที่จะลองอะไรใหม่ๆ ยิ่งพยายาม ฝีมือคุณจะยิ่งดีขึ้น ไม่ต้องรอช้า ออกไปลองทำอะไรใหม่ๆ ได้เลย"

ผู้มีส่วนร่วม

ทำสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้นด้วย Adobe Photoshop Lightroom

แก้ไขรูปภาพอย่างง่ายดายด้วย Preset ของ Lightroom อย่างSuper Resolution แชร์ภาพถ่ายอย่างง่ายดายจากทุกอุปกรณ์ และเข้าถึงโปรเจกต์ต่างๆ ของคุณได้ทุกที่ด้วยการจัดการพื้นที่จัดเก็บภาพถ่ายบนระบบคลาวด์

และคุณอาจสนใจ...

ภาพเมืองญี่ปุ่นยามค่ำคืน - เคล็ดลับการถ่ายภาพกลางคืน | Adobe

การถ่ายภาพกลางคืน
แสงน้อยไม่ได้ทำให้ภาพมีคุณภาพต่ำเสมอไปด้วยเคล็ดลับการถ่ายภาพกลางคืนให้ดูดีเหล่านี้

สะพานมิลเลนเนียมที่มีอาสนวิหารเซนต์พอลเป็นฉากหลัง

การถ่ายภาพสถาปัตยกรรมทั้งภายในและภายนอก

เรียนรู้เคล็ดลับพื้นฐานในการถ่ายภาพภายในและภายนอกอาคาร ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก

 

ภาพถ่ายสะพานเหนือลำธารสายใหญ่ในป่า

มุ่งหน้าสู่ป่าเพื่อถ่ายภาพป่าไม้

ปลุกแรงบันดาลใจด้วยคำแนะนำและเคล็ดลับในการถ่ายภาพป่า

คนกำลังทำฮอตด็อกเหนือกองไฟตอนกลางคืน

คู่มือการถ่ายภาพ High Contrast

ให้ความมืดและแสงร่วมกันสร้างสรรค์ภาพที่ใครๆ ก็หันมามองด้วยการถ่ายภาพ High Contrast

รับ Photoshop Lightroom

แก้ไข จัดระเบียบ จัดเก็บ และแชร์ภาพถ่ายได้จากทุกที่

ใช้งานฟรี 7 วัน หลังจากนั้น ฿380.92/เดือน  (รวม VAT)