#F5F5F5

การถ่ายภาพ

ไฟล์ราสเตอร์

รูปแบบไฟล์ราสเตอร์เป็นหนึ่งในสองประเภทไฟล์หลักที่ใช้สำหรับรูปภาพดิจิทัล อีกประเภทหนึ่งก็คือเวกเตอร์ จุดแข็งอย่างหนึ่งของไฟล์ราสเตอร์คือความสามารถในการบันทึกกราฟิกที่มีรายละเอียดและภาพถ่ายคุณภาพสูงที่ถ่ายจากกล้องดิจิทัล ลองมาสำรวจฟีเจอร์หลักๆ ของรูปภาพแบบราสเตอร์ การใช้งานซึ่งเป็นที่นิยมโดยทั่วไป และความแตกต่างระหว่างรูปภาพแบบราสเตอร์กับรูปภาพแบบเวกเตอร์

สำรวจ Creative Cloud

Raster files image

https://main--cc--adobecom.hlx.page/cc-shared/fragments/seo-articles/get-started-notification-blade

ไฟล์ราสเตอร์คืออะไร

ไฟล์รูปภาพดิจิทัลมีอยู่ด้วยกันสองประเภทหลักๆ ได้แก่ ราสเตอร์และเวกเตอร์ทั้งนี้ ภาพถ่ายดิจิทัลและกราฟิกที่มีรายละเอียดมากล้วนอยู่ในรูปแบบราสเตอร์ ประเภทไฟล์ราสเตอร์ยอดนิยม ได้แก่ รูปภาพ JPEG, PNG และ GIF

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไฟล์รูปแบบนี้มีจำนวนพิกเซลคงที่ รูปภาพแบบราสเตอร์จึงอาจผิดเพี้ยนหรือเบลอได้หากถูกปรับขนาดเพื่อนำไปใส่ในพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นหรือเล็กลง ด้วยเหตุนี้ รูปภาพแบบเวกเตอร์จึงเป็นที่นิยมสำหรับใช้เป็นภาพประกอบและโลโก้มากกว่า เนื่องจากเวกเตอร์นั้นสร้างขึ้นมาจากสูตรคณิตศาสตร์ที่สามารถขยายหรือย่อขนาดได้อย่างไม่จำกัด ซึ่งหมายความว่า เมื่อเทียบกับพิกเซลแล้ว เวกเตอร์จะไม่สูญเสียความละเอียดเมื่อปรับขนาด

ไฟล์ภาพถ่าย RAW เป็นไฟล์ที่เก็บข้อมูลรูปภาพแบบไม่บีบอัดซึ่งได้จากเซ็นเซอร์ของกล้องโดยตรง และโดยทั่วไปแล้วจะถูกแปลงเป็นไฟล์ราสเตอร์เมื่อมีการแก้ไข

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับไฟล์เวกเตอร์

เรียนรู้หลักการทำงานของไฟล์ RAW

ไฟล์ราสเตอร์มีไว้ใช้ทำอะไร

ไฟล์ราสเตอร์หรือที่เรียกว่าบิตแมปนั้นใช้งานได้ดีที่สุดเมื่อคุณต้องการจัดเก็บและแสดงภาพถ่ายคุณภาพสูง ภาพถ่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบไฟล์ราสเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพบนสิ่งพิมพ์หรือรูปภาพดิจิทัลก็ตาม

ทั้งนี้ คุณสามารถแก้ไขพิกเซลแต่ละพิกเซลในไฟล์ราสเตอร์ได้ด้วยซอฟต์แวร์อย่าง Adobe Photoshop เพื่อเปลี่ยนแปลงลักษณะที่ปรากฏของภาพถ่าย อย่างไรก็ตาม รูปภาพแบบราสเตอร์แต่ละรูปนั้นมีข้อจำกัดด้านขนาดกว้างยาวและจำนวนพิกเซล ซึ่งส่งผลกระทบต่อขนาดและความละเอียดของรูปภาพ การเพิ่มขนาดของรูปภาพที่มีพิกเซลน้อยเกินไปอาจทำให้รูปภาพแตกเป็นพิกเซลได้ ซึ่งมักจะไม่มีใครต้องการให้เป็นเช่นนั้น ดังนั้น ภาพประกอบหรือโลโก้ที่ต้องนำไปใช้ในหลากหลายขนาดจึงมักอยู่ในรูปแบบเวกเตอร์เสียเป็นส่วนมาก

ข้อดีและข้อเสียของไฟล์ราสเตอร์

หากคุณคิดจะใช้ไฟล์ราสเตอร์ในโปรเจกต์ถัดไปของคุณ อย่าลืมเรียนรู้ข้อดีและข้อเสียของไฟล์ประเภทนี้ก่อนจะเริ่มใช้

ข้อดีของไฟล์ราสเตอร์

ตัวอย่างข้อดีหลักๆ ได้แก่

  • ให้ความสำคัญกับรายละเอียด
    เมื่อนำไฟล์ราสเตอร์ไปแสดงในขนาดที่เหมาะสม ไฟล์จะสามารถแสดงรายละเอียดและสีสันอันซับซ้อนที่อยู่ในภาพถ่ายคุณภาพสูงได้ ยิ่งไฟล์มีพิกเซลมากเท่าไร รูปภาพจะยิ่งมีคุณภาพมากขึ้นเท่านั้น
  • การแก้ไขที่แม่นยำ
    คุณสามารถปรับเปลี่ยนพิกเซลทีละพิกเซลเมื่อทำการแก้ไขกราฟิกหรือภาพถ่ายแบบราสเตอร์ได้ ดังนั้น คุณจึงยกระดับและปรับแต่งรูปภาพได้ตามที่คุณต้องการ
  • เข้ากันได้กับซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ต่างๆ อย่างแพร่หลาย
    คุณสามารถเปิดไฟล์ราสเตอร์ได้ด้วยโปรแกรมและเว็บเบราว์เซอร์มากมาย ดังนั้น คุณจึงสามารถดู แก้ไข และแชร์รูปภาพของคุณได้อย่างง่ายดาย

ข้อเสียของไฟล์ราสเตอร์

ข้อเสียของไฟล์ราสเตอร์ ได้แก่

  • ความละเอียดที่จำกัด
    ไฟล์ราสเตอร์ไม่สามารถคงความละเอียดของภาพไว้ได้เมื่อทำการปรับขนาด ซึ่งต่างกับรูปภาพแบบเวกเตอร์ ทั้งนี้ สีและรายละเอียดของไฟล์ราสเตอร์อาจผิดเพี้ยนได้เมื่อขยายภาพ คุณจึงสามารถทำสิ่งต่างๆ กับรูปภาพประเภทนี้ได้น้อยลง
  • ขนาดไฟล์ที่ใหญ่
    ไฟล์ราสเตอร์สามารถมีพิกเซลได้นับล้านพิกเซล แม้จำนวนพิกเซลที่มากจะทำให้ได้รูปภาพที่มีรายละเอียดมาก แต่ก็อาจทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่ขึ้นและต้องใช้เวลาในการโหลดมากขึ้น
  • ปัญหาด้านการพิมพ์บนผ้า
    พิกเซลสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ประกอบกันเป็นรูปภาพแบบราสเตอร์นั้นไม่สามารถถ่ายทอดลงบนผ้าและเครื่องแต่งกายได้ดีเสมอไป ด้วยเหตุนี้ รูปภาพแบบเวกเตอร์จึงเป็นตัวเลือกซึ่งเป็นที่นิยมมากกว่าสำหรับใช้สร้างโลโก้และลวดลายให้กับเสื้อยืด

ไฟล์ราสเตอร์: คำถามที่พบบ่อย

ไฟล์ราสเตอร์ประเภทหลักๆ มีอะไรบ้าง

ไฟล์ JPEG จะบีบอัดรูปภาพและใช้สำหรับภาพถ่ายดิจิทัลเป็นหลัก ขณะที่ไฟล์ PNG (Portable Network Graphic) นั้นมีลักษณะคล้ายกัน แต่สามารถแสดงพื้นหลังแบบโปร่งใสได้ ส่วนไฟล์ GIF (Graphic Interchange Format) นั้นมักจะใช้สำหรับสร้างกราฟิกราสเตอร์แบบเคลื่อนไหว สุดท้าย ไฟล์ TIFF (Tagged Image Format File) จะช่วยให้นักออกแบบกราฟิกสามารถแก้ไขภาพถ่ายได้โดยไม่ทำให้คุณภาพลดลง

ฉันจะรู้ได้อย่างไรว่ารูปภาพใดๆ เป็นรูปภาพแบบราสเตอร์

รูปภาพที่เบลอหรือผิดเพี้ยนเมื่อขยายขนาดเกิน 200% มักจะเป็นรูปภาพแบบราสเตอร์ มีเพียงไฟล์เวกเตอร์เท่านั้นที่จะสามารถรักษาความละเอียดไว้ได้เหมือนเดิมเมื่อปรับขนาดรูปภาพ รูปภาพแบบราสเตอร์มักจะมีนามสกุลไฟล์อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

.JPEG

.PNG

.GIF

.TIFF

ข้อเสียของไฟล์ราสเตอร์

เราสามารถใช้รูปภาพแบบราสเตอร์เป็นโลโก้บริษัทได้หรือไม่

รูปภาพแบบราสเตอร์สามารถใช้ทำเป็นโลโก้ได้หากใช้ในที่เดียวและมีขนาดคงเดิมตลอด เช่น ใช้บนนามบัตร หากคุณต้องปรับขนาดโลโก้ของบริษัทเพื่อนำไปใช้ในที่อื่นๆ ทั้งใช้บนสิ่งพิมพ์และบนโลกออนไลน์ เช่น ใช้บนโปสเตอร์ นามบัตร หรือหน้าเว็บ เป็นต้น ไฟล์เวกเตอร์จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า เนื่องจากไฟล์ประเภทนี้จะไม่สูญเสียความละเอียดเมื่อปรับขนาด

ไฟล์ JPEG กับไฟล์ PNG แตกต่างกันอย่างไร

ไฟล์ JPEG กับไฟล์ PNG แตกต่างกันอย่างไร

หากคุณจะเปรียบเทียบระหว่างไฟล์ JPEG กับ PNG ให้ดูว่าไฟล์แต่ละรูปแบบรองรับคุณภาพและขนาดของรูปภาพอย่างไร เมื่อบีบอัดรูปภาพ ไฟล์ JPEG จะมีขนาดเล็กลงและโหลดได้เร็วขึ้น แต่คุณภาพก็จะลดลงเนื่องจากสูญเสียข้อมูลบางส่วนไป เมื่อเทียบกันแล้ว กระบวนการบีบอัดที่ใช้ในการทำให้รูปภาพ PNG มีขนาดเล็กลงนั้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพ แต่ก็ทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่กว่า

ไฟล์ราสเตอร์สามารถมีพิกเซลได้จำนวนเท่าไร

ไฟล์ราสเตอร์แต่ละไฟล์จะมีจำนวนพิกเซลได้มากน้อยต่างกันโดยขึ้นอยู่กับคุณภาพและความซับซ้อนของรูปภาพ ภาพถ่ายอันซับซ้อนที่ถ่ายด้วยกล้องดิจิทัลระดับไฮเอนด์มักจะมีจำนวนพิกเซลอยู่ที่หลักล้าน ซึ่งบ่งบอกถึงระดับของรายละเอียดบนจอแสดงผล แต่โปรดระลึกเสมอว่ายิ่งมีพิกเซลมากเท่าไร ไฟล์ก็จะยิ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นเท่านั้น

https://main--cc--adobecom.hlx.page/cc-shared/fragments/seo-articles/do-more-photoshop-color-blade

https://main--cc--adobecom.hlx.page/cc-shared/fragments/discovery-hub/products-photoshop-segment-blade